กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านซ่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านซ่อง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง

1.นางปิยากรเขียวเจริญ
2.นางสาวพัชรภรณ์ฝางริต
3.นางสาวสุนิษามิตรโกสุม
4.นางสาวเพ็ญพักตรฝืปะสาวะนัง
5.นางสาวศรสวรรค์ไชยวงศ์ทอง

เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านซ่อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

80.00
4 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

30.00

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โรคเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขปัญหาหนึ่ง ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเร่งด่วนในการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งทางด้านเชิงรุกคือการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป เชิงตั้งรับคือการเพิ่มบริการเชิงรุกให้ประชาชนเข้าถึงบริการง่ายโดยการขยายเครือข่ายบริการไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาพยาบาล รวมทั้งเพิ่มระบบการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคโรคเรื้อง โดยมีระบบการตรวจคัดกรองเบื้องต้น คือการตรวจคัดกรองระบบ ตา ไต เท้า และระบบหัวใจโดยใน 1 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ 1)ไตวายเรื้อรังและแนวโน้มนำไปสู่การล้างไต2)จอประสาทตาเสื่อมซึ่งนำมาสู่อาการตาบอดได้ 3)เท้ามีอาการชาเท้าเกิดแผลได้ง่ายและกลายเป็นแผลเรื้อรังการรักษาต้องใช้ระยะเวลานานและนำไปสู่การถูกตัดเท้า ขา ได้ และ 4)โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกพบมากในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นำมาสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 1,199 คน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 865 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 334 คนจากกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง พบว่าผู้ป่วยบางรายยังมีปัญหาในการควบคุมโรคของตนเองให้อยู่ในระดับที่ปกติไม่ได้ สาเหตุมาจากการขาดความตระหนักในการควบคุมโรคและภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา ผลกระทบที่ตามมาคือการปรับการรักษาซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลสูงขึ้นตามมา และยังส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเองทั้งทางด้านร่างกายคือ มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก มีภาวะไตวายเรื้อรัง จอประสาทตาเสื่อม เท้าชา และเป็นแผลที่เท้าซึ่งอาจนำมาซึ่งการถูกตัดเท้าได้ ปัญหาที่พบในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงซึ่งจากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและคนในครอบครัวเป็นอย่างมากทั้งทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาดังกล่าวยังมีแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูล HDCปี2562 ซึ่งพบผู้ป่วยที่ควบคุมโรคเรื้อรังไม่ได้ จำนวน 507 คน ควบคุมระดับน้ำตาล ไม่ได้ จำนวน 142 คน ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้จำนวน 365 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซ่อง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้และแนวทางในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ควบคุมโรคได้เป็นปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 40.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 40.00
3 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

80.00 90.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

30.00 37.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย)

ชื่อกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยกาออกกำลังกาย
2.ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเละความดันโลหิตสูง
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 120 คนๆละ75 บาท เป็นเงิน 9,000บาท
- ค่าอาหารว่างสำหรับที่เข้ารับการอบรม จำนวน 120 คนละ 2 มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 9,000บาท
- ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 12 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน7,200 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มโครงการ จำนวน 120 ชุด ชุดละ 3 บาทเป็นเงิน360บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22560.00

กิจกรรมที่ 2 การสำรวจสถานสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจสถานสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจวัดความดัน ระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกายของผู้ป่วยโดย อสม.โดยการปั่นจักรยานไปทำกิจกรรมเก็บข้อมูล
ค่าใช้จ่าย
(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รู้สถานสุขภาพของผุ้ป่วย ทำให้สามารถออกเเบบกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับผุ้ป่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรม เเละฝึกปฏิติการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผุ้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
การฝึกอบรม เเละฝึกปฏิติการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผุ้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรุ้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสมสำหรับผุ้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
สาธิตเเละฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผุ้ป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 29 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยสามารถบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>