กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการครัวเรือนร่วมใจคัดแยกขยะต้นทาง เพื่อชุมชนสะอาด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน

1. นางคอดีเยาะ ยาหมาย

2. นางสาวมาซูรี สาจิ

3. นางอานีตาสูนสละ

4. นางสาววรรณรักษ์ หมัดสะแหละ

5. นายการันต์ หมันหย่อง

ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆจังหวัดในประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราของขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และอัตราขยะมูลฝอยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึงร้อยละ 70 ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม อากาศเสีย น้ำเสีย เป็นแหล่งพาหะนำโรค และเป็นเหตุรำคาญหรือความไม่น่าดูในชุมชน ซึ่งตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล นับเป็นตำบลหนึ่งที่ยังพบปัญหาการจำกัดขยะตามบ้านเรือนในชุมชน ตามแนวชายฝั่งทะเล เนื่องจากเป็นตำบลแหล่งท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม แต่ยังพบกองขยะมูลฝอยให้เห็นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ตำบลแหลมสนไม่ได้ดำเนินการสำรวจปริมาณขยะทั้งหมดภายในตำบล แต่จากการสำรวจการจัดการขยะในครัวเรือนจำนวน 239 หลังคาเรือนในโครงการเสริมสร้างพลังชุมชนด้วยบ้านต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้ตำบลจัดการสุขภาพ ในปี 2562 ได้สำรวจในประเด็นการจัดการขยะในครัวเรือน พบว่าร้อยละ 66.37มีการคัดแยกขยะออกเป็น 2 ประเภท คือขยะเปียก ขยะแห้ง, ร้อยละ 27.05 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะออกเป็น 3 ประเภท คือขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะทั่วไป และร้อยละ 6.58 ครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะโดยรวมขยะทุกประเภทในถุงเดียวกัน ในประเด็นวิธีการทำลายขยะในครัวเรือน พบว่ามีการกำจัดด้วยวิธีการเผาบนหน้าดินร้อยละ 56.48, ฝั่งกลบร้อยละ 25.11 และทิ้งขยะบนผิวดินปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติร้อยละ 18.41 โดยโครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับกิจกรรมคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน และค้นหาบ้านต้นแบบที่มีการบริหารจัดการแบบบูรณาการทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
และผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างพลังชุมชนด้วยบ้านต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้ตำบลจัดการสุขภาพ ในปี 2563พบว่ามีบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมบ้านต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพจำนวน 239 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 34.14 และมีบ้านที่เข้าร่วมประกวดบ้านต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพจำนวน 81 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.57จำแนกตามหมู่บ้าน ดังรายละเอียดปรากฏตามตาราง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือนเพิ่มขึ้น
  1. ร้อยละ 50ของครัวเรือนทั้งหมด (ทั้งครัวเรือนเก่าและใหม่) สมัครเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะต้นทาง และมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
0.00
2 เพื่อค้นหาบ้านต้นแบบในการคัดแยกขยะ สามารถเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นๆได้
  1. ในแต่ละชุมชนมีบ้านต้นแบบอย่างน้อย 10 หลังคาเรือนที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน สามารถลดปริมาณขยะได้
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 180
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน 4 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ และรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วม กิจกรรมคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน 4 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ และรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วม กิจกรรมคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมงๆละ600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180คน x25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 9,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 180 คน x70บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 12,600 บาท

เป็นเงินทั้งสิ้น 23,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทักษะความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ และสร้างกระแสการคัดแยกขยะให้เกิดความต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ และสร้างกระแสการคัดแยกขยะให้เกิดความต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลรณรงค์การคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน ขนาด 3 x 2 เมตร จำนวน 5ป้าย x900บาท เป็นเงิน   4,500บาท

เป็นเงินทั้งสิ้น4,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีไวนิลรณรงค์การคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมวางแผนงานคณะกรรมการตำบลและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 ครั้ง (คณะกรรมการ 25คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนงานคณะกรรมการตำบลและคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 ครั้ง (คณะกรรมการ 25คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 30 คน x1มื้อ x25 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท
    เป็นเงินทั้งสิ้น 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการวางแผนงานคณะกรรมการตำบลและคณะกรรมการหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมตรวจเยี่ยมเพื่อเสริมกำลังใจ และประเมินครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ (คณะกรรมการ 25 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมตรวจเยี่ยมเพื่อเสริมกำลังใจ และประเมินครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ (คณะกรรมการ 25 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คน x1 มื้อ x25 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน1,500 บาท

เป็นเงินทั้งสิ้น 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประเมินการทำกิจกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการและมอบเกียรติบัตรแด่ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการและมอบเกียรติบัตรแด่ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเกียรติบัตร หรือรางวัลเสริมสร้างแรงจูงใจ เป็นเงิน 2,700 บาท

เป็นเงินทั้งสิ้น 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการมอบเกียรติบัตรแด่ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ และมีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยสามารถลดปริมาณการใช้ขยะ (คิดก่อนใช้)ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดที่ถูกต้องและขยะรีไซเคิลสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

2. ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนและสถานที่สาธารณะ

3. ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคีเครือข่ายในชุมชน และประชาชนมีการรวมตัวกันทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในตำบลแหลมสน


>