กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสืบสานภูมิปัญญาไทยด้วยลูกประคบสมุนไพร ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านหนองกางเขน

เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน จำนวน 6 หมู่ ได้แก่ หมู่4,7,8,9,10 และ11 ตำบลบางแม่นาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละอาสาสมัครสาธารณสุขขาดความรู้ในการใช้สมุนไพรในการบำบัดรักษาอาการในเบื้องต้น

 

50.00

สังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากผลของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ก่อให้เกิดปัญหาในสังคมมากขึ้นทุกวัน ซึ่งประชาชน ชุมชนขาดความสนใจในภูมิปัญญาไทย และการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการปวดเมื่อย และอาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่จะนำไปสู่การเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นความเสี่ยงต่อความพิการเป็นอย่างมาก ในการดูแลสุขภาพแบบแผนไทย ซึ่งการนวดแผนไทยถือเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ที่สืบทอดมาแต่โบราณและการใช้สมุนไพรในการประคบลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดการฟกช้ำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมดีขึ้น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ สามารถคืนความเป็นอยู่แบบไทย ซึ่งเน้นความอยู่แบบเรียบง่าย สามารถดูแลตนเองได้ โดยไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอก อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากร ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป เกิดการดูแลสุขภาวะชุมชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องการประคบสมุนไพร เป็นวิธีการของศาสตร์การแพทย์แผนไทยวิธีหนึ่ง เป็นวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์แผนโบราณ คนไทยนิยมใช้รักษามาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดแผนไทย คือหลังจากนวดเสร็จแล้วประคบนาบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรร้อนๆ ซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรู้จักการนำสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ในการบำบัดรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

อาสาสมัครสาธารณสุขรู้จักการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การทำลูกประคบสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
การทำลูกประคบสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางแม่นางเป็นเงินทั้งสิ้น24,990 บาท ( สองหมื่นสี่พันเก้าร้อยเก้าสิบบาทถ้วน-) เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ดังนี้ 1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 75 คน x25 บาทต่อมื้อX2 มื้อเป็นเงิน 3,750 บาท 2) ค่าอาหารกลางวัน 75 คน x80 บาทต่อมื้อX1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท 3) ค่าอุปกรณ์และสมุนไพรในการทำลูกประคบ
- สมุนไพร ไพลสด จำนวน 10 กิโลกรัม ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
- สมุนไพร ขมิ้นอ้อยแห้ง จำนวน 4 กิโลกรัม ๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท
- สมุนไพร ตะไคร้แห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 200บาท
- สมุนไพร ใบมะขามไทยแห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน 300บาท
- สมุนไพร ผิวมะกรูดแห้ง จำนวน 4 กิโลกรัม ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 400บาท
- สมุนไพร เกลือ จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 60บาท
- สมุนไพร การบรู จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 1,500 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
- ผ้าห่อลูกประคบ จำนวน 30 เมตร ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
- เชือก จำนวน 2 ม้วน ๆ ละ 40 บาทเป็นเงิน 80บาท
- เขียง จำนวน 4 อัน ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 100บาท
- มีด จำนวน 5 เล่ม ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 500บาท
- ครกหิน จำนวน 2 ใบ ๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,740 บาท
4) ค่าวัสดุการอบรม สมุดจดบันทึก ปากกา แฟ้มสำหรับใส่เอกสาร 75 คน x60บาท เป็นเงิน 4,500 บาท หมายเหตุ รายการดังกล่าวข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรู้จักและสามารถนำสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24990.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,990.00 บาท

หมายเหตุ :
รายการดังกล่าวข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรู้จักและสามารถนำสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้


>