กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก (63-l4123-01-30)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านทรายแก้ว

รพ.สต.บ้านทรายแก้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งการควบคุมโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ถือเป็นนโยบายหลักในงานด้านสาธารณสุข จังหวัดยะลาเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอำเภอบันนังสตา มีรายงานการเกิดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในทุกตำบลของพื้นที่ ส่วนในเขตตำบลตลิ่งชัน ตั้งแต่ปี 2558 – 2562 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย จำนวน 882 ราย และโรคไข้เลือดออก จำนวน 67 รายซึ่งถือว่าพบผู้ป่วยจำนวนมากและเป็นปัญหาของพื้นที่ โดยการเกิดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกนั้น มีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่องและยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่เอื้อต่อการเกิดโรค นอกจากนี้ การประกอบอาชีพต่างๆและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ได้
สำหรับสถานการณ์โรค ไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2558 – 2562 ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบผู้ป่วย ดังนี้ ปี 2558 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 5 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร149.86 และ 122.18 ปี 2559 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 339 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร8,216.19 และ 171.06 ปี 2560 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 200 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร4,887.58 และ 122.18 ปี 2561 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 10 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 237.13 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในปีนี้ และปี 2562 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จำนวน 7 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 157.09 และ 112.20 ตามลำดับ โดยในปี 2559 พบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกมากกว่าปีอื่นๆ
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ยังคงมีการระบาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไข ดังนั้น เพื่อให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังการเกิดโรคและควบคุมการระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือกออกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก” ขึ้น
เป้าหมาย1. บ้านทั้งหมด 1,213 หลังคาเรือน โดยแยกเป็น หมู่ 3 จำนวน 548 หลังคาเรือน หมู่ 4 จำนวน 324 หลังคาเรือน
และหมู่ 10 จำนวน 341 หลังคาเรือน
2. โรงเรียน จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านทรายแก้ว, โรงเรียนนิคมฯ5 และโรงเรียนนิคมฯ6
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
4. มัสยิด จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิดทรายแก้ว, มัสยิดลิเง๊ะ, มัสยิดลีจิง, มัสยิดบายิ และมัสยิดโต๊ะปาแว
พื้นที่ดำเนินการพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียและ โรคไข้เลือดออก
ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน และภาคีเครือข่ายในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ไข้มาลาเรียโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกควัน

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควัน หมู่ที่ 3 4 10

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลังคาเรือนได้รับการพ่นหมอกควัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41400.00

กิจกรรมที่ 2 แจกจ่ายโลชั่นทากันยุง

ชื่อกิจกรรม
แจกจ่ายโลชั่นทากันยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาโลชั่นทากันยุงแจกจ่ายทุกหลังคาเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลังคาเรือน หมู่ 3 4 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคได้
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ภาคีเครือข่ายในชุมชน/อสม. และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง
และป้องกันโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง


>