กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วานรนิวาส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โภชนาการหญิงตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วานรนิวาส

โรงพยาบาลวานรนิวาส

คลีนิกหมอครอบครัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ เพราะอัตราการเติบโตของทากรกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่นๆของชีวิต ความต้องการสารอาหารและพลังงานระหว่างตั้งครรภ์จึงมีมากกว่าระยะอืนๆถ้ามารดาได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในปริมาณที่เพียงพอ มารดาจะมีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนินทารกที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าทารกกินอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่เพียงพอมักทำให้เกิดโรคความดันโลหิตจาง เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง โลหิตเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์และได้รับการดูแลสุขภาพตลอดอายุการตั้งครรภ์
2. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด
3. เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม
4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดมีพัฒนาการที่สมวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โภชนาการหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
โภชนาการหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วีธีการดำเนินการ 1. ประชุม/ปรึกษาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เพื่อกำหนดแนวทาง/กิจกรรม 2. แต่งตั้งคณะกรรมการระดับตำบลมี 2 ชุด ได้แก่ 2.1 ประชุมติดตามมอบนโยบาย และติดตามงานในชุมชน ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาเด็กเล็กและครอบครัว (CFT ตำบล) มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประธาน กำนันและผู้ใหญ่บ้าน เป็นกรรมการ ปลัด อบต. เป็นกรรมการ ผู้แทนคุณครู เป็นกรรมการ  ประธาน อสม เป็นกรรมการ  ผู้อาวุโสในตำบล เป็นกรรมการ  หัวหน้าคลีนิกหมอครอบครัว หรือพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงาานแม่และเด็ก เป็นเลขานุการ 2.2 ทีมพัฒนาเด็กเล็กและครอบครัวระดับหมู่บ้าน ตามจำนวนหมู่บ้าน ประธานควรเลือกมาจากที่ประชุม  สำหรับองค์ประกอบได้แก่ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ครูหรือข้าราลการเกษียณแล้ว ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่เเกี่ยวข้องอื่นๆ 3.จัดทำโครงการเพื่อขอเสนออนุมัติ 4. ประชุมชี้แจงกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 0-2 ปี 5. ให้คำปรึกษาและโภชนาการศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทางโภชนาการหรือ BML ต่ำ (ภาพชุดอาหารทดแทน กราฟโภชนาการ น้ำหนักตามเกณฑ์) 6. สนับสนุนนมกล่อง/เกลือไอโอดีน แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายที่ขึ้นทะเบียนโครงการ 7. จัดกิจกรรมแสดงความยินดีกับหญิงตั้งครรภ์ 8. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือให้เด็กเล็กฟัง โดยเน้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งและในชุมชน 9. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิด ตำบลน้ำแม่/ชุมชนนมแม่ และตำบลเกลือไอโอดีน 10 สรุปผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวันสำหรับการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัว ตำบลวานรนิวาส จำนวน 40 คนๆละ 100 บาท x 3 ครั้ง
2. ค่าจัดซื้อนมกล่องจ่ายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จำนวน 100 ราย x 12 กล่อง x กล่องละ 10 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท 3. ค่าจัดซื้อเกลือไอโอดีนแก่หญิงตั้งครรภ์ (ตำบลไอโอดีน) จำนวน 100 ราย x 1 ถุงๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,00 บาท 4. จัดซื้อไข่ไก่จ่ายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จำนวน 100 ราย x 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มารดาและทารกหลังคลอดมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงฝากครรภ์ตามเกณฑ์
1.1 หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 10
1.2 หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70
1.3 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์คุณภาพ ครบ 5 ครั้ง ร้อยละ 80
1.4 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแล ร้อยละ 100
1.5 หญิงหลังคลอด ได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 80
2. ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.1 เด็กมีน้ำหนักแรกเกืดน้อยกว่า 2500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ 7
2.2 เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 50


>