กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้มะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกบ้านหนองกางเขน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

ชมรมอาสาสมัครสาธารรสุขบ้านหนองกางเขน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขนและพื้นที่หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่4, 7, 8, 9, 10 และ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ขาดความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

 

20.00
2 สตรีอายุ 30-60 ปี ขาดการได้รับกา่รตรวจมะเร็งปากมดลูก

 

20.00
3 สตรีอายุ 30-60 ปี ขาดความรู้และการตรวจมะเร็งเต้านมที่ถูกต้องด้วยตนเอง

 

30.00

เมื่อปี 2557 ที่ผ่านพ้นมา มีข่าวการสรุปสถานการณ์โรคมะเร็งของประเทศไทยพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงเป็นอันดับ 1 ของคนไทย ต่อเนื่องนานกว่า 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา และข้อมูลล่าสุด จากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบอีกว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกว่า 60,000 คนต่อปี ขณะที่มีรายงานการเสียชีวิตปีละเฉียด 8 ล้านคนทั่วโลก ล่าสุด องค์การอนามัยโลกคาดว่า อีก 21 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นปีละ 24 ล้านคนเมื่อวันที่ 19 พ.ย.57 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2554 พบว่า ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิต จากโรคมะเร็ง ปีละประมาณ 60,000 รายหรือเฉลี่ย 7 รายต่อชั่วโมง และยังคงพบอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี3 อันดับแรกของ โรคมะเร็ง ที่พบในเพศหญิง ได้แก่มะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูกมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีตามลำดับ การตรวจคัดกรองและตรวจพบโรคมะเร็งในระยะแรก จะช่วยให้ป้องกันอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งได้มากขึ้น อีกทั้งหากมีการให้ความรู้ และทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง จะช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งสำหรับเพศหญิงได้เป็นอย่างดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ขาดความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละสตรีอายุ 30 -60 ปี ที่เข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

20.00 50.00
2 สตรีอายุ 30-60 ปี ขาดการได้รับกา่รตรวจมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละจำนวนผู้ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

20.00 30.00
3 สตรีอายุ 30-60 ปี ขาดความรู้และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ร้อยละผู้ที่เข้ารับความรู้และการตรวจมะเร็งเต้านมที่ถูกต้องด้วยตนเอง

30.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลบางแม่นาง จำนวน 11,740 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาทถ้วน-)รายละเอียด ดังนี้ 1.  กิจกรรมการให้ความรู้มะเร็งปากมดลูกและเต้านม และฝึกทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 6ครั้ง -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 300 คนๆละ25บาท/มื้อ จำนวน  1  มื้อเป็นเงิน  7,500 บาท -  ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับ ความรู้ จำนวน 300  แผ่น แผ่นละ 1บาท เป็นเงิน 300 บาท -  ค่าวัสดุสาธิต เต้านมจำลองเพื่อฝึกคลำหาก้อนผิดปกติ 1ชุด เป็นเงิน 3,490 -  ค่าป้ายไวนิล โครงการ ขนาด 1*3 เมตร   เป็นเงิน   450  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น


>