กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

นางจารุณี มณีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์
นางจิตรา โพธิ์คำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวปรัศนีย์ วรรณมานะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นายรัฐจักร์วิเชียร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นางสาวอริสราไม้อ่อนดี เจ้าพนักงานสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์พบว่าร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ของปี 2560 , 2561 และ 2562 คิดเป็นร้อยละ 68.89 , 67.16 และ 54 ตามลำดับ , ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ ของปี 2560 , 2561 และ 2562 คิดเป็นร้อยละ 64.44 , 41.79 และ 44 ตามลำดับร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ของปี 2560 , 2561 และ 2562 คิดเป็นร้อยละ 72, 81.10 และ 80.24 ตามลำดับ , ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ของปี 2560 , 2561 และ 2562 คิดเป็นร้อยละ 100 , 96.92 และ 100 ตามลำดับ พบว่ายังมีปัญหาอีกหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลผิดปกติในบางตัวเช่น การติดเชื้อ HIV หากไม่ได้รับประทานยาต้านเชื้อแต่เนินๆ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายไปยังลูกในครรภ์ได้ หรือภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์ตลอดจนภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะคลอด และหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ ความสำคัญของการตรวจหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มาฝากครรภ์ตามนัดหมาย จึงส่งผลให้ไม่สามารถดูแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึง คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรที่มีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามหญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ

 

0.00
3 เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้รับเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการหญิงมีครรภ์ และได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก

 

0.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

0.00
6 เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดปีงบประมาณ 2563

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดปีงบประมาณ 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
    1. ประชุมชี้แจงแผนการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในกลุ่มเป้าหมายและมอบนมกล่องในการดูแลหญิงมีครรภ์
    3. การค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากท้องก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยเครือข่าย
    4. การติดตามให้หญิงตั้งครรภ์ได้ฝากท้องครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ
    5. การติดตามเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด โดย เจ้าหน้าที่ อสม. 7.จัดทำนวัตกรรมส่งเสริมหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด
    6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
               จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทนมีย์   จำนวน 43,600 บาท รายละเอียด  ดังนี้, 1) ค่าเหมาจ่ายรายหัวในการดูแลและติดตามหญิงมีครรภ์ 20 คนๆละ100บาท
                                      เป็นเงิน    2,000บาท 2)  ค่านมในการดูแลหญิงมีครรภ์ 20 คนๆละ90 บาทกล่องละ20 บาท  เป็นเงิน    36,000บาท 3)  ค่าเอกสาร                              เป็นเงิน    1,000  บาท 4)  ค่าป้ายโครงการ                        เป็นเงิน    600 บาท 5) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์                       เป็นเงิน    1,500  บาท
                6) ค่าวัสดุจัดทำนวัตกรรมส่งเสริมหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด      เป็นเงิน    2,500  บาท     รวมทั้งสิ้น ๔๓,๖๐๐ บาท ถ้วน (สี่หมื่นสามพันหกร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากท้องก่อน 12 สัปดาห์
    1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์
    2. หญิงหลังคลอดได้รับเยี่ยมหลังคลอด
      4.หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    3. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักในเกณฑ์มาตรฐานมากกว่า 2,500 กรัม
    4. ทารกคลอดมีชีพ
    5. ไม่พบมารดาเสียชีวิตหลังคลอด 28 วัน
    6. มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากท้องก่อน 12 สัปดาห์
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์
3. หญิงหลังคลอดได้รับเยี่ยมหลังคลอด
4.หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
5. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักในเกณฑ์มาตรฐานมากกว่า 2,500 กรัม
6. ทารกคลอดมีชีพ
7. ไม่พบมารดาเสียชีวิตหลังคลอด 28 วัน
8. มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน


>