กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

1.นางวิมลพรหมอินทร์ ประธาน
2.นางสาวบีเดาะมะดีเยาะ รองประธาน
3.นางสาวซูลียานาสะแปอิง เหรัญิก
4.นายมะลาเซง สาเมาะ ประชาสัมพันธ์
5.นางสาวมาซือนะห์เปาะซา เลขานุการ

หมู่ที่ 3, 5, 6, 7 ตำบลช้างเผือกอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งสถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูลเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 2,518 ราย เสียชีวิต35 ราย หากกลับบ้านได้รวม 1,135 ราย และข้อมูลจังหวัดสตูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยสะสม 15 ราย การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อข้างต้น จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยการบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ ฯลฯ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงด้านสาธารณสุข ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทยให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ปี 2563 เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละของประชาชนที่เข้าอบรมมีความรู้ในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

80.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความตะหนักในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละของประชาชนที่เข้าอบรมมีความตะหนักในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/08/2020

กำหนดเสร็จ 15/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 80 คน             = 4,000 บ.
ค่าอาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 80 คน                                   = 4,000 บ. ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                                              = 3,600 บ.
ค่าไวนิล                                                                                =   800 บ. ค่าวัสดุ                                                                                  =   700 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 สิงหาคม 2563 ถึง 13 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และมีความตระหนักในการป้องกันโรค COVID-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องขยายเสียงบนรถแห่ 1.2 ติดป้ายไวนิลในที่ชุมชน 1.2 ติดป้ายไวนิลในที่ชุมชน -ค่ารถแห่ประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 วันๆละ 1,000 บ.     = 2,000
-ค่าไวนิล (1X2เมตร) ผืนละ 700บ.X7ผืน                   = 4,900 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2563 ถึง 15 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องขยายเสียงบนรถแห่ เรื่อง COVID-19และได้รับอ่านข้อมูลข่าวสารผ่านทางป้ายไวนิลในชุมชนและแผ่นพับที่แจก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ลดความตื่นตระหนกของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันการควบคุมการระบาดได้


>