กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเชิงรุก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

นางจารุณีมณีรัตน์ ผู้อำนวยการโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์
นางจิตราโพธิ์คำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางปรัศนีย์วรรรณมานะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นายรัฐจักร์วิเชียร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นางสาวอริสราไม้อ่อนดี เจ้าพนักงานสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวััดสุรินทร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาโดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโตร้องละ80ของผู้ใหญ่เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน และจากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กแรกเกิดถึง 5 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่า
ร้อยละ 39.47 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กว่าร้อยละ 70 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัย

 

20.00 25.00
2 ส่งต่อผู้มีผลการพัฒนาการล่าช้าทุกราย

 

20.00 25.00
3 เพื่อติดตามการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

 

20.00 25.00
4 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

 

20.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเชิงรุก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเชิงรุก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
    • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    • ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน จัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual) ให้แก่ ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ ปี ในเรื่องต่อไปนี้ 3.1 พัฒนาการตามวัยเด็ก 0 - 5 ปี 3.2 การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี 3.3 การประเมินพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี 3.4 ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี 3.4.1 จัดทำมุมพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี 3.4.2 จัดกิจกรรมออกให้บริการเชิงรุกในหมู่บ้าน เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการในเด็กอายุ 0 - 5 ปีที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
    3.4.3 จัดทำนวัตกรรมพัฒนาการเด็ก 3.4.4สรุปผลการคัดกรองพัฒนาการรายบุคคล ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กในกลุ่มที่มีพัฒนาไม่สมวัย 3.5 ประเมินผลการดำเนินงาน 3.6 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทนมีย์จำนวน 36,600 บาท รายละเอียดดังนี้ 1)ค่าเหมาจ่ายรายหัวตรวจพัฒนาการเด็ก 100 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท 2) ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 600 บาท 3) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 1,500 บาท 4) ค่าวัสดุมุมพัฒนาการ พัฒนาการเคลื่อนที่สำหรับเด็กเป็นเงิน10,000 บาท
5) ค่าชุดตรวจพัฒนาการ 4 ชุด ชุดละ 3,000 บาท เป็นเงิน12,000 บาท 6) ค่าวัสดุจัดทำนวัตกรรม พัฒนาการเด็ก เป็นเงิน2,500 บาท
รวมทั้งสิ้น 36,600 บาท ถ้วน (สามหมื่นหกพันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
  2. เด็กพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ
  3. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก0-5 ปี
  4. เด็กได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบเกณฑ์ตามวัย
  5. เด็กได้รับการติดตามการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
2. เด็กพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ
3. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก0-5 ปี
4. เด็กได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบเกณฑ์ตามวัย
5. เด็กได้รับการติดตามการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ


>