กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างสารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

เขตรับผิดชอบ รพ.สต.หนองฮาง 15 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากสารพิษกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาใหญ่มาก สำหรับสังคมไทยทั้งที่เป็นเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในสังคมไทย ดังข้อมูลกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีเกษตรกรที่ผลการตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเกิดพิษอันเนื่องมาจาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนถึง 77,789 คน จากจำนวนเกษตรกรที่ตรวจเลือด 369,573 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของเกษตรกรทั้งหมด และข้อมูลผลการตรวจระดับของสารเคมีทางการเกษตรในเลือดของเกษตรกรเมื่อเร็วๆ นี้ปรากฏว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยผลการตรวจเกษตรกรที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 924 คน พบว่ามีเกษตรกรและแม่บ้านที่มีสารเคมีตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัยและเสี่ยง จำนวนรวมกันมากถึง 75% พิษภัยจากสารเคมีการเกษตรนี้เชื่อมโยงไปสู่ปัญหาที่เป็นผลระยะ ยาว เช่น ปัญหาโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อ และปัญหาอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโรคสำคัญอันดับต้นๆของคนไทย
สรุปผลการดำเนินโครงการแรงงานนอกระบบ ปี 2560 ผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ทั้ง 15 หมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองฮาง มีประชาชนเข้าร่วมคัดกรองทั้งสิ้น 627 คน
- ปกติ 3 คน ร้อยละ 0.48
- ปลอดภัย 76 คน ร้อยละ 12.12
- มีความเสี่ยง 223 คน ร้อยละ 35.57
- ไม่ปลอดภัย 325 คน ร้อยละ 51.83
และจากการสำรวจยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชในข้าว พืชผักสวนครัวทั้งที่ปลูกไว้บริโภคเอง และนำไปจำหน่ายตามตลาดนัด ต่อมาทั้งตัวเกษตรกรเอง และผู้บริโภคเกิดอาการผิดปกติจากการได้รับสารเคมีสะสมในร่างกาย และได้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮางเป็นจำนวนมาก และ พบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่ยังใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืช ฆ่าหญ้า ฯลฯ จำนวนมาก และมีประชาชนที่ผ่านไปมา รวมถึงตัวเกษตรกรเองยังได้รับผลกระทบจากสารเคมี เช่น มีตุ่มหนองพุพองไม่ทราบสาเหตุ แขน – เท้าบวมไม่ทราบสาเหตุ และอาการที่พบบ่อย หายใจไม่อิ่ม ผื่นแดงตามผิวหนัง ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างสารพิษ ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการลดอาการผิดปกติ และ ป้องกันการเกิดสารพิษตกค้างทั้งในเกษตรกรและผู้บริโภคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชการล้างผักเพื่อลดสารปนเปื้อนและการใช้สมุนไพรล้างพิษ ในกลุ่มเกษตรกรที่มีอายุ 30 – 60 ปี อย่างน้อยร้อยละ 70
2.เพื่อตรวจคัดกรองเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืช และให้คำแนะนำ/ส่งต่อเพื่อรักษา
3.เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ และตระหนักถึงโรคที่จะเกิดจากภาวการณ์สะสมของสารเคมีในร่างกาย
4.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสารเคมีสะสมในร่างกาย ในกลุ่มเกษตรกร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและตรวจค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและตรวจค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 350 คน x 75 บาท x 1 วัน
    เป็นเงิน 26,250 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
  3. ค่าป้ายโครงการ 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>