กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มประชาชนทั่วไป บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 8

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มประชาชนทั่วไป บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 8

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 8

1. ประชาชนทั่วไป
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่สำคัญเกิดขึ้นในประชากรทั่วไปอย่างรวดเร็ว และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าในปีนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 285 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.4 ของจำนวนประชากรทั่วโลก และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้นเป็น 438 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของจำนวนประชากรทั่วโลกในประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของกรมการแพทย์ตั้งแต่ปี 2548 - 2552 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อีกทั้งพบผู้ป่วยที่อายุน้อยลง ๆ ในปี2560 ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำหมูน มีจำนวนกลุ่มเสี่ยง HT/DM (ความดัน/เบาหวาน) โดยแยกตามหมู่ดังนี้หมู่ที่ 1 จำนวน ๓๗/๑๐๗…คน หมู่ที่ ๔ จำนวน ๕๒/๒๙…คน หมู่ที่ ๘ จำนวน ๔๕/๕๓………คน หมู่ที่๑๓ จำนวน …๓๖/๑๖……คน และ หมู่ที่ ๑๖ จำนวน …๒๙/๖๖……คน รวมทั้งหมด …๑๙๙/๒๗๑.…คน ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (โรคอ้วน) (ข้อมูลจาก รพ.สต.คำหมูน และ รพ.วานรนิวาส25๖๒ ) จะเห็นได้ว่าความผิดปกติของโรคอ้วนลงพุงซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเป้าหมายในการดูแลรักษา โดยการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูง ควบคุมเบาหวาน การลดน้ำหนักตัวและที่สำคัญคือควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกในการดูแลกลุ่มอาการนี้ เช่น การบริโภคอาหารที่เหมาะสม การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่มีการหด คลายของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ประกอบด้วย ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบต่อมไร้ท่อ รวมทั้งปฏิกิริยาในการสร้างพลังงานของเซลล์กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหดตัว โดยการออกกำลังกายต้องมีการกำหนดรูปแบบ และวิธีการที่ชัดเจน มีการกระทำซ้ำๆ เพื่อเสริมสร้างหรือคงไว้ซึ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายให้สมบูรณ์ ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของสมรรถภาพของหัวใจ ความแข็งแรง และกำลังของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของร่างกาย และความอ่อนตัว ซึ่งในปัจจุบันการออกกำลังกายนั้นมีหลายหลาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกสนุกสนาน พึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมใช้ไม้พลอนในการออกกำลังกาย
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกผ่อนคลาย คลายเครียดภายหลังเลิกงานแล้วมีกิจกรรม
๓. ผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย
๔. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพันธสัญญากับตนเอง (Commitment) ในการออกกำลังกาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่ง ปั่น และ บาสโลบ

ชื่อกิจกรรม
การออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่ง ปั่น และ บาสโลบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ
    1. ประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการเพื่อจัดทำโครงการ
    2. ประชุมคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
    3. เขียนโครงการ และจัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินโครงการ
    4. ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่
    5. ประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเตรียมผู้นำการออกกำลังกาย ขั้นดำเนินการ 1. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้ เป็นกลุ่มที่มี 1.1 เส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรในชาย หรือ 80 เซนติเมตรในหญิง หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 1.2 นัดตรวจ ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย กลุ่มชุมชน เพื่อเป็นมาตรฐานก่อนเริ่มโครงการ ๖. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการออกกำลังกาย การวัดความพึงพอใจ ความสนุกสนาน และการมีพันธสัญญากับตนเองในการออกกำลังกายทั้งก่อนและหลังการดำเนินการของโครงการ และประเมินสภาวะร่างกายโดยวัดสัญญาณชีพ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดัชนีมวลกาย วัดขนาดเส้นรอบเอว
      ๗. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการ ขอความร่วมมือ ในการปฏิบัติตัวที่จะต้องออกกำลังกายโดย เดิน วิ่ง ปั่น และบาสโลบผู้ที่ออกกำลังกายและบริโภคอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้ได้ผลการศึกษาตามความเป็นจริง
      ๘.ให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนักและแจกเอกสาร โรคอ้วนลงพุง ภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง ของ โดย เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.คำหมูน และ รพ.วานรนิวาส ๙. บรรยาย อภิปราย ถึงประโยชน์ ข้อพึงปฏิบัติ และข้อพึงระวังในการออกกำลังกายตามหลัก นคร 2 ส ตลอดจนนำตัวแม่แบบเข้าร่วมอภิปรายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เห็นแบบอย่างและสาธิตการออกกำลังกายต้นแบบ และผู้นำ
      ๙. ฝึกทักษะการออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่ง ปั่น และ บาสโลบ เพื่อให้เล่นได้อย่างถูกวิธีกลุ่มที่ร่วมกิจกรรม จากตัวแบบ และผู้นำ พร้อมกับเปิดวีดีโอการการออกำลังกายที่ถูกต้อง ให้โอกาสผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาส ฝึกฝนการออกกำลังกาย เป็นเวลา 1 วัน ก่อนเข้าโครงการจริง ๑๐. ทำกลุ่มเพื่อกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร
      ๑๑. จัดให้มีกลุ่ม Buddy เพื่อช่วยกระตุ้นเตือนซึ่งกันและกัน
      ๑๒. การดำเนินการของโครงการ กลุ่มที่ร่วมกิจกรรม
            ๑๒.1 เริ่มดำเนินโครงการ โดยการออกกำลังกายด้วย เดิน วิ่ง ปั่น และบาสโลบ ซึ่งมีผู้นำกลุ่มในการออกกำลังกายด้วยเดิน วิ่งปั่น และ บาสโลบ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำหมูน  เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๓ วัน ทุกวันจันทร์ พุธ และวันศุกร์ ใช้เวลาครั้งละ 40 นาที เวลา 17.00 – 17.40 น. โดยการออกกำลังกายในแต่ละครั้งแบ่งออกเป็น 3 ระยะตามหลักการออกกำลังคือ ระยะที่1 การอุ่นร่างกาย ใช้เวลา 5 นาที ในการอบอุ่นร่างกาย และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ระยะที่ 2 การออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ใช้เวลาต่อเนื่อง 30 นาที ระยะที่ 3 การผ่อนคลายกล้ามเนื้อใช้เวลา 5 นาที 9.2 ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 10 คน และช่วยกันวางแผนภายในกลุ่มของตนเอง ในการหากลยุทธ์เพื่อ แข่งขันกันในการลดเส้นรอบเอว ดัชนีมวลกาย และจับคู่ Buddy เพื่อกระตุ้นให้กำลังใจในการแข่งขัน เพื่อลดเส้นรอบเอวและอื่นๆในกลุ่มตนเอง           ๑๒.๒ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวัดสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดขนาดเส้นรอบเอว ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่8 และสัปดาห์ที่11 เกณฑ์การประเมนผล ทางด้านจิตใจ

เกณฑ์ทางด้านร่างกาย 1. ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกาย บุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม (โรคที่เกี่ยวเนื่องมาจากการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง) มีขนาดเส้นรอบเอวสะโพก ดัชนีมวลกายลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังก่อนออกกำลังกาย ร้อยละ 70 ๒. ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกาย บุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม มีระดับความดันโลหิตลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 6. งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ...ตำบลเดื่อศรีคันไชย................................................................... จำนวน .....๘,๐๐๐.... บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการและคัดกรองความเสี่ยง จำนวน ๑๐๐  คนๆละ ๒๕ บาท ต่อครั้ง จำนวน  ๑ ครั้ง. เป็นเงิน  ๒,๕๐๐  บาท -  ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม สำหรับผู้ที่ร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย  จำนวน  ๔๕ ครั้งๆละ ๑๐๐ บาท
  เป็นเงิน  ๔,๕๐๐ บาท ( มีผู้ร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่า ๓๐ คนต่อครั้ง  ) -  ค่าจ้างเหมาจัดทำสรุปรูปเล่ม  จำนวน  ๒ เล่มๆละ ๓๐๐  บาท   เป็นเงิน  ๖๐๐  บาท -  ค่าวัสดุ
      ๑. สมุดนัมเบอร์ ๒  จำนวน  ๕  เล่ม ๆละ ๗๐  บาท  เป็นเงิน  ๓๕๐  บาท       ๒. ปากกา  จำนวน  ๑๐  ด้ามๆละ  ๕  บาท    เป็นเงิน   ๕๐   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการส่งเสริมการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันโรคอ้วนลงพุงได้
      ๒. เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายและจิต ในการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุง
      ๓. เป็นการพัฒนาระดับความสามารถในการดูแลสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนในชุมชน ให้มีสุขภาพที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการส่งเสริมการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันโรคอ้วนลงพุงได้
๒. เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายและจิต ในการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุง
๓. เป็นการพัฒนาระดับความสามารถในการดูแลสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนในชุมชน ให้มีสุขภาพที่ดี


>