กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำ/แผงลอย คุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

รพ.สต.บ้านใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ/แผงลอย แกนนำผู้บริโภค (ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,นักเรียน) และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและแผงลอย

ผู้ประกอบการร้านชำ/แผงลอย แกนนำผู้บริโภค (ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,นักเรียน) และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและแผงลอย ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ/แผงลอย สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน

ผู้ประกอบการร้านชำ/แผงลอย ในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสิ้นค้าที่มีคุรภาพมาตรฐานที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร้อยละ

0.00
3 เพื่อพัฒนาร้านชำ/แผงลอย ให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ

ร้านชำ/แผงลอย พัฒนาผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ 2.ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้งครองผู้บริโภค เรื่องผู้บริโภค เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารยา และเครื่องสำอางที่ปลอดภัย แนะนำวิธีการเลือกซื้อ เลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการจัดร้านขายของชำให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข 3.ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมได้ความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจและพัฒนาร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจและพัฒนาร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจและพัฒนาร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค 2.ติดสติ๊กเกอร์รูปภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์ "ยาอันตรายห้ามจำหน่าย" "ยาสามัญประจำบ้านจำหน่ายได้" "เครื่องสำอางห้ามจำหน่าย" 3.มอบป้ายร้านชำคุณภาพและร้านชำติดดาว แก่ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 4.ตรวจติดตามหลังการพัฒนาร้านชำ ปีละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ร้านชำที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย มีภูมิคุ้มกันมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ร้านขายของชำในหมู่บ้าน ให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่


>