กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโครงการรณรงค์ เดิน – วิ่ง ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโครงการรณรงค์ เดิน – วิ่ง ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาที่พบมากในประชากรทุกวัย ธรรมชาติการเกิดโรคในช่องปากจะมีพัฒนาการไปตามช่วงวัย เริ่มจากปัญหาการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็ก เยาวชน จนสู่ปัญหาการสูญเสียฟันในวัยทำงานและผู้สูงอายุ ปัญหาโรคฟันผุจึงเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะในช่องปาก นอกจากนี้ปัญหาโรคปริทันต์ที่มีความสัมพันธ์กับ Metabolic disease ซึ่งเริ่มตั้งแต่โดยช่วงตั้งครรภ์ จะพบเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ และฟันผุมากกว่าปกติ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และการรับประทานอาหารบ่อยขึ้น ภาวะปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบที่เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์และการคลอดได้ มีการศึกษาที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของโรคปริทันต์กับการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย จากการศึกษาของสำนักทันตสาธารณสุข พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีฟันผุเฉลี่ยคนละ ๖.๖ ซี่ และร้อยละ ๙๐.๔ มีเหงือกอักเสบ การตรวจให้คำแนะนำ รวมถึงให้บริการขูดหินน้ำลายช่วยลดอัตราการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ลงได้กว่าครึ่ง ในแม่ที่มีฟันผุมีโอกาสสูงที่จะส่งผ่านเชื้อ ที่ทำให้เกิดฟันผุไปยังลูกผ่านทางน้ำลาย และเด็กที่ได้รับเชื้อฟันผุตั้งแต่อายุน้อย มีโอกาสที่จะเกิดฟันผุ อย่างรวดเร็ว การส่งเสริมสุขภาพ สร้างทัศนคติ และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อการดูแลลูกในอนาคต
ปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กและเยาวชน ไปจนถึงปัญหาโรค ปริทันต์ในวัยทำงาน และปัญหาการสูญเสียฟัน ทั้งในวัยทำงานและผู้สูงอายุ จากการสำรวจสภาวะสุขภาวะช่องปากโดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พ.ศ. 2555 พบว่าแต่ละช่วงวัยต่างก็มีปัญหาแตกต่างกันไป หากปล่อยให้เป็นเรื้อรังย่อมจะนำไปสู่ปัญหาเมื่ออายุมากขึ้น
เด็กแรกเกิด - 3 ปี เด็กจะเริ่มมีฟันน้ำนมเมื่ออายุ 6 เดือน อย่างไรก็ตามพบว่าเด็กจะมีปัญหาฟันผุ ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และผุมากขึ้นตามวัย โดยเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุแล้วถึงร้อยละ 51.7 เฉลี่ย 2.7 ซี่ / คน และส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษา โรคฟันผุในวัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ มีการศึกษาพบว่า การมีฟันผุหลายซี่ในปากมีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกร็นของเด็ก การสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดทำให้เด็กรับประทานอาหารลำบาก เคี้ยวไม่สะดวก และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีแนวโน้มว่าฟันแท้จะผุมากขึ้นเช่นกัน
เด็ก 3 - 6 ปี ข้อมูลการเกิดโรคที่อายุ 5 ปี พบว่ามีฟันผุถึงร้อยละ 78.5 เฉลี่ย 4.4 ซี่/คน เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล แม้ว่าจะมีการจัดนมจืดให้แก่เด็กแล้วก็ตาม แต่ยังพบว่าเด็กยังดื่มนมหวานและนมเปรี้ยวเมื่ออยู่ที่บ้านถึงร้อยละ 39.4 การเลิกขวดนมช้านอกจากจะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุแล้วยังมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการสบฟันในอนาคต เหตุนี้ผู้ปกครองจึงต้องเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน จัดอาหารว่างที่เน้นผลไม้สดแทนขนมหวาน และ ช่วยเด็กเลิกขวดนม รวมทั้งขนมขบเคี้ยวที่ไม่จำเป็น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รพ.สต.บ้านหนองฮางตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาสจังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ2563 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกัน ส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็ก0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีฟันผุ

ร้อยละเด็กวัยก่อนเรียนที่มีฟันผุไม่เกิน

50.00

1. เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีฟันผุไม่เกินร้อยละ 50
2. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็กก่อนวัยเรียน
4. เพื่อให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพ
5. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบมให้ความรู้และตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบมให้ความรู้และตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 150 คนๆ 75 บาท
                                                   เป็นเงิน 11,250 บาท
  2. ค่าป้ายโครงการ                                เป็นเงิน     500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กก่อนวัยเรียนมีอนามัยช่องปากที่ดีไม่เป็นปัญหา
2. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
3. ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
4. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน


>