กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หานโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแล ใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพช่องปากชาวหานโพธิ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หานโพธิ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์

หมู่ที่ 2,3,5,9,10 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาพช่องปากที่ดีมีความสำคัญ เนื่องจากสุขภาพช่องปากมีผลต่อคุณภาพชีวิต โรคฟันผุ เป็นโรคที่มีความชุกสูงในกลุ่มเด็กนักเรียน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรงเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดเรียนในเด็ก ถึงแม้ว่าปัญหาเรื่องโรคฟันผุเมื่อเกิดขึ้นแล้วชุมชนจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เอง ต้องมีการรักษาพยาบาล แต่การเฝ้าระวังโรคนี้ จะมีผลทำให้ชุมชนรู้ปัญหาและแสวงหาบริการได้ทันท่วงที จากการตรวจฟันในกลุ่มผู้รับบริการพบว่า หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนนักเรียน วัยทำงานและสูงอายุมีปัญหาฟันผุ โดยเฉพาะในโรงเรียนประถม 2 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีก 1 แห่ง มีนักเรียน 286 คน เด็กกลุ่มอายุ 3 ปีมีฟันผุในฟันน้ำนมร้อยละ 82.35 เด็กกลุ่มอายุ 6 ปีมีฟันผุในฟันแท้ร้อยละ 14.29 เด็กกลุ่มอายุ 9 ปีมีฟันผุในฟันแท้ร้อยละ 50.00 และเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้ร้อยละ 45.00 ซึ่งพบว่าอัตราการผุในฟันแท้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอายุ 6 ปี ถึง 9 ปี ส่วนผู้สูงอายุที่มีฟันแท้ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ มีร้อยละ23.28 (Health Data Center (HDC) ปีงบประมาณ 2562)
การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้มีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็ก โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัย การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยและในเด็กประถมที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่น ๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว รวมทั้งครอบครัว(ผู้ปกครอง)ต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วยกล่าวคือฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวนเก ล้ม เอียงเข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติอาจจะขึ้นมาในลักษณะปิดซ้อนกัน หรือมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็กซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก สุขภาพในช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพในร่างกาย
สำหรับประเทศไทยสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สังคมจำเป็นต้องเตรียมการและให้การช่วยเหลือเกื้อกูลให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพ อาทิการสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหารทำให้ต้องเลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่ายซึ่งมีไขมันสูงคอเลสเตอรอลสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยซึ่งร่างกายจำเป็นต้องได้รับการสูญเสียฟันทั้งปากเป็นปัจจัยเสี่ยงของการมีน้ำหนักลดลงและมีปัญหาในการสื่อสารหรือร่วมกิจกรรมในสังคมการมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคเรื้อรังกับโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์กับเบาหวานโรคหัวใจ โรคทางระบบทางเดินหายใจและสุขภาพจิต เป็นต้น สำหรับสุขภาพช่องปาก จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ทำให้เห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและการป้องกันโรคในช่องปากเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรงจึงได้จัดทำโครงการ ดูแล ใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพช่องปากชาวหานโพธิ์ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ความรู้ คัดกรองสุขภาพช่องปาก ป้องกันและรักษาให้ห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 ครู และผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทยรัฐ นักเรียนโรงเรียนวัดหานโพธิ์ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา23 และผู้สูงอายุได้เข้าร่วมโครงการและได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหานโพธิ์

ชื่อกิจกรรม
1. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหานโพธิ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2020 ถึง 31 สิงหาคม 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 1. ประสานงานพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทยรัฐ โรงเรียนวัดหานโพธิ์ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา23

ชื่อกิจกรรม
1. ประสานงานพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทยรัฐ โรงเรียนวัดหานโพธิ์ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา23
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2020 ถึง 31 สิงหาคม 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. ให้ความรู้แก่ครู และผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทยรัฐ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเรื่องเด็ก

ชื่อกิจกรรม
3. ให้ความรู้แก่ครู และผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทยรัฐ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเรื่องเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2020 ถึง 31 สิงหาคม 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19150.00

กิจกรรมที่ 4 4. ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน โรงเรียนวัดหานโพธิ์ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา23 ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
4. ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน โรงเรียนวัดหานโพธิ์ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา23 ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2020 ถึง 31 สิงหาคม 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21320.00

กิจกรรมที่ 5 5. ให้ความรู้ผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
5. ให้ความรู้ผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2020 ถึง 31 สิงหาคม 2020
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,870.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กก่อนวัยเรียน ผู้ปกครองและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทยรัฐ ได้รับความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปาก
2. นักเรียนโรงเรียนวัดหานโพธิ์ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา23ได้รับความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปาก
3. ผู้สูงอายุได้รับความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพช่อง


>