กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ“ชาวตำบลธาตุร่วมใจลดภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าในปี ๒๕๔๘ ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง ๓๕ ล้านคน กลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุของการตาย ๔ อันดับแรกได้แก่ กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ตามลำดับ มีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๗ ในปี ๒๕๕๘ (WHO, ๒๐๐๕) สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยยังคงพบว่าโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาจากแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓ พบว่าสภาพปัญหาที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพคือการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป กินผัก และผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย ไม่สามารถจัดกับอารมณ์และความเครียด สูบบุหรี่หรือสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันใน ๕ โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของชาวตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส พบว่าโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบ 1 ใน 5 อันดับโรคแรกผู้ป่วยนอกจากสถิติการมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง3 ปีย้อนหลัง ปี 2560-2562 พบผู้ป่วยมากขึ้นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 220,248,255 คนตามลำดับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 230,245,250 คนตามลำดับมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีนับวันยิ่งมากขึ้นและเป็นปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนและพบว่า ผู้ป่วยยังไม่ตระหนักถึงการดูแลตนเองในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓อ ๒ส รวมถึงการกินยา เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายกับโรค
ดังนั้นเพื่อเป็นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเพื่อการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮางจึงได้จัดทำโครงการ“ชาวตำบลธาตุร่วมใจลดภัยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง” ขึ้นในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ความรู้และสร้างแนวทางการปฏิบัติตัว ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
2.เพื่อจัดตั้งเครือข่ายการดูแลตนเอง เพื่อลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 25
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 175
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหาร 200X75 บาท=15,000บาท 2.ค่าวิทยากร กลาง2คนๆละ2ชมๆ600x2=1,200x2 วัน รวม 2400บาท 3. ค่าวิทยากรประจำฐาน 4คนx600=2,400บาท 4.ค่าป้ายโครงการ 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน/ท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในการป้องกันและลดการเข้าถึงปัจจัยเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเบาหวาน
2.เกิดบุคคล/ชุมชน/หมู่บ้านต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3.เกิดการเข้าถึงบริการเพื่อลดเสี่ยงและลดโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรค
และบริบทพื้นที่


>