กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้(นายสุปัญญาไชยราช)

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสถานการณ์การกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องมีการเผยแพร่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในร้านค้าขายของชำพบว่าในบางพื้นที่มีร้านขายของชำจำหน่ายยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมากกว่าร้อยละ 80 การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่น ๆ ในชุมชนมีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในชุนชนเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจการขายยาอันตรายในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านโนนแต้จำนวน 7 หมู่บ้านพบว่ามีการจำหน่ายยาอันตรายในทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) และยาชุดซึ่งทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยา ทำให้เกิดการดื้อยาเป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
จากสภาพปัญหาดังกล่าว รพ.สต.บ้านโนนแต้ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตรายในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตราย โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคและอันตรายจากการใช้ยาจากร้านค้าร้านชำ อันจะส่งผลให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ผู้ประกอบร้านขายของชำตระหนักถึงการขายยาที่ไม่ถูกต้อง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้ประกอบการร้านค้าขายของชำตระหนักถึงการขายยาที่ไม่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้ประกอบร้านขายของชำมีความรู้ในเรื่องขอบเขตในการใช้ยา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้ในเรื่องขอบเขตในการใช้ยา
3. เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเกินจำเป็น
ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง และเกินจำเป็น
4. เพื่อพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาให้เกิดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ : เครือข่ายภาคประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาให้เกิดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านขายของชำ ตัวแทนนักเรียน อย.น้อย ผู้นำและประชาชนในพื้นที่เรื่องยาอันตราย และรายการยาที่ร้านขายของชำสามารถจำหน่ายได้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านขายของชำ ตัวแทนนักเรียน อย.น้อย ผู้นำและประชาชนในพื้นที่เรื่องยาอันตราย และรายการยาที่ร้านขายของชำสามารถจำหน่ายได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง,อาหารกลางวันและเครื่องดื่ม การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องยา/เวชสำอางอันตรายและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
                จำนวน  120  คน x คนละ 75 บาท x 1 ครั้ง   เป็นเงิน 9,000  บาท
  • ค่าป้ายจัดอบรมโครงการ
                จำนวน 1 ป้าย x ป้ายละ 500 บาท      เป็นเงิน    500    บาท   
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์และเอกสารในการจัดอบรมโครงการ
                จำนวน  120  คน x คนละ 10 บาท x 1 ครั้ง   เป็นเงิน 1,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

--

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านค้าขายของชำตระหนักถึงการขายยาที่ไม่ถูกต้อง
2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้ในเรื่องขอบเขตในการใช้ยา
3. ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องและเกินจำเป็น
4. ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกันพัฒนาให้เกิดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ


>