กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ในปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้(นางสาวอวยชัย แร่ทอง)

7 หมู่บ้าน พื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรเพิ่มขึ้นจากข้อมูลการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2561 พบว่า มีปริมาณการนำเข้า มากถึง 106,860 ตัน, 137,049 ตัน, 117,645 ตัน, 119,971 ตัน, 125,596 ตัน และ 148,979 ตัน ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการกำจัด ศัตรูพืชในการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากโดยเกษตรกรนำสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต ทางการเกษตรควบคุมและกำจัดศัตรูพืชและเพื่อเก็บถนอมเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับเพาะปลูกทำให้มี การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายและเป็นจำนวนมากทั้งชนิดและปริมาณในแต่ละครั้ง ของการเพาะปลูกซึ่งการใช้ในแต่ละครั้งนั้นส่งผลให้ศัตรูพืชมีการต้านฤทธิ์หรือการดื้อต่อสารเคมี กำจัดศัตรูพืชทำให้ในครั้งต่อไปที่มีการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการ ฉีดพ่นในครั้งที่ผ่านมาเกษตรกรจำต้องเปลี่ยนไปใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้นเป็นอันตราย ทั้งต่อสุขภาพของตนเองบุคคลที่ได้รับสัมผัสทุกคนผู้บริโภครวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกรส่วนมากมีการสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชผ่านทางปากผิวหนังและการหายใจซึ่งเมื่อ สารเข้าสู่ร่างกายแล้วจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซททิลโคลินเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase) ทำให้เกิดการสะสมของ อะเซททิลโคลิน (Acetylcholine) ที่ปลายประสาท
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่ มะเขือเทศ พริก มะเขือพวง ข้าวโพด และผักต่าง ๆจึงส่งผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลธาตุ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ปี 2563 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรบ้านโนนแต้ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีของเกษตรกร
2. เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร
3. เพื่อให้เกษตรกรได้รับการเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจวัดระดับสารเคมีในเลือด (การตรวจเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส) ในชุมชน ทุกหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจวัดระดับสารเคมีในเลือด (การตรวจเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส) ในชุมชน ทุกหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 240 คนๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าวัสดุโครงการ  จำนวน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี
2. ได้ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร
3. เกษตรกรได้รับการเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช


>