กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมให้ความรู้ภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กมัสยิดอัลญามีอียะห์ ประจำปี 2560

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอัลญามีอียะห์ เทศบาลตำบลปาเสมัส

นางนูรียากูมูดอ

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ปรพจำมัสยิดอัลญามีอียะห์ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอัลญามีอียะห์ มีความประสงค์จะจัดทำโครงการส่งเสริมให้ความรู้ภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก ปี 2560 ซึ่งเด็กในวัยนี้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หากเด็กได้รับความรัก อความอบอุ่น การอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสม ส่งเสริมพัฒนาการและประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก ได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการ ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสึขภาพดี ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางรากฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กวัยก่อนเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อบในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารอาหารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจาการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เด็กวัยนี้จะมีสุขภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน - 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลภาะวโภชนาการจามเกณฑ์

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน - 5 ปี ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคนได้รับการแก้ไขให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน - 5 ปี ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรับประธานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

 

0.00
4 ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมพัฒนาการตามวัยให้เด็กได้อย่าบงสมวัย ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการศูนย์ฯ 11
ผู้ปกครองนักเรียน 59

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2017

กำหนดเสร็จ 29/09/2017

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก ปี 2560

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก ปี 2560
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 62 คนๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 3,100 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 65 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,100 บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับสาธิตอาหารจัดเลี้ยงอาหาร
    • ข้างกล้อง 3 กกๆละ 80 บาท  เป็นเงิน 240 บาท
    • อกไก่ 5 กก.ๆละ 120 บาท  เป็นเงิน 600 บาท
    • แครอท 5 กกๆละ 45 บาท เป็นเงิน 225 บาท
    • ฟักทอง 4 กกๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 100 บาท
    • ผักบุ้ง 15 กำๆละ 10 บาท  เป็นเงิน 150 บาท
    • ผักกวางตุ้ง 4 กกๆละ 25 บาท เป็นเงิน 100 บาท
    • ซีอิ้วขาว  1 ขวดๆละ 47 บาท  เป็นเงิน 47 บาท
    • น้ำปลา 2 ขวดๆละ 24 บาท  เป็นเงิน 48 บาท
    • ไข่ไก่ 2 แผงๆละ 120 บาท  เป็นเงิน 240 บาท
    • น้ำมัน 2 กกๆละ 48 บาท  เป็นเงิน 96 บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับเมนูอาหารสำหรับเด็ก จำนวน 1 คน จำนวน 1*1/2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 900 บาท
  5. ค่าตอบแทนวิทยากรแนะนำวัตถุดิบ, สาธิตการทำอาหาร จำนวน 1 คน จำนวน 3*1/2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 2,100 บาท
  6. ค่าวัสดุในการจัดอบรม

- ซองพลาสติก ขนาด เอสี่ จำนวน 59 เล่มๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 295 บาท
- ปากกา จำนวน 59 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 295 บาท - สมุด จำนวน 59 เล่มๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 295 บาท 7. ป้ายโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน  12,681 บาท (-หนึ่งหมื่สองพันหกร้อยแปดสิบเอ็ดบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2560 ถึง 29 กันยายน 2560
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12681.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,681.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน - 5 ปี ในศูนย์ได้รับการประเมินและวิเคราะห์ภาวะโภชนาการ
2. ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน - 5 ปี ในศูนย์ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการแก้ไขให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
3. ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน - 5 ปี ในศูนย์ที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย


>