กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขนุน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรสุขใจ ห่างไกลสารเคมี ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขนุน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนุน ต.ขนุน อ.กันทรลักษ์จ.ศรีสะเกษ

เขตรับผิดชอบรพ.สต.ขนุนุจำนวน10หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

150.00
2 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

 

35.00

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ตำบลขนุนเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปีทำไร่ ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น อสม.ตำบลขนุนจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและค้นหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ปี 2563ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

150.00 85.00
2 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

35.00 25.00

1.เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองในการดูแลสุขภาพด้านการใช้สารเคมี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 450
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำเกษตรพอเพียง เกษตรอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการทำเกษตรพอเพียง เกษตรอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 10 หมู่บ้านๆละ 15 คนรวม150คน
  2. ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
  3. แจกสมุนไพรขับสารพิษให้กับผู้ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด     2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองในการดูแลสุขภาพด้านการใช้สารเคมี     3.เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างได้รับสมุนไพรขับสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักไม่กลับกองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้พร้อมสาธิตการทำปุ๋ยหมักจากเศษพืชโดยไม่กลับกอง ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยให้เกษตรกรทดลองปฏิบัติ
  2. แจกเอกสารคู่มือการทำปุ๋ยหมักพืชสดไม่กลับกอง
  3. วางแผนการทำสวนเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตนเอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ช่วยลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยของเกษตรกร
  2. เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรที่ปลอดภัยมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมได้รับการตรวจค่าสารเคมีในเลือด และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
2. เกษตรกรในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำการเกษตรที่ปลอดสารเคมี ปลูกผักสวนครัวที่ปลอดภัย ไว้บริโภคในครัวเรือน


>