กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสุขภาพจิตในชุมชนโดย อสม.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดสุขภาพจิตที่พบบ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อกำจัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดปัญหาความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนทีสำคัญที่จะต้องป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการป่วยทางจิตกลายเป็นปัญหาอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันไป ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชของหน่วยบริการในสังกัดกรมสุขภาพจิต ประจำปี งบประมาณ 2560 พบว่า 2,669,821 คน โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าในประเทศไทย เท่ากับ 284,399 คน ในจังหวัดพัทลุง เท่ากับ 2,319 คน
จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอในปีงบประมาณ 256๓ในชุมชนปัญหาผู้ป่วยสุขภาพจิตไม่ได้รับยาตามนัดหรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอมีผู้ป่วยจิตเวชที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด22 คน โดยแยกเป็นผู้ป่วยที่มีผู้ดูแลและได้รับการรักษาต่อเนื่อง จำนวน ๑๕คนคิดเป็นร้อยละ ๖๘.๑๙ จำนวนและมีผู้ป่วยที่รับยาไม่ต่อเนื่อง จำนวน๗คน คิดเป็นร้อยละ๓๑.๘๒โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอจึงได้จัดทำโครงการ “โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ด้านสุขภาพจิตชุมชนและการคัดกรองสุขภาพชุมชน” ขึ้นเพื่อส่งเสริม /สนับสนุนพัฒนาศักยภาพ อสม. ด้านสุขภาพจิตชุมชนและการคัดกรองสุขภาพขึ้นโดยกระตุ้นให้อสม. และประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาสุขภาพและพัฒนาชุมชน และช่วยดูแลให้คนในชุมชนมีสุขภาพกาย และใจที่ดี

กลุ่มเป้าหมายเป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาสุขภาพและพัฒนาชุมชน และช่วยดูแลให้คนในชุมชนมีสุขภาพกาย และใจที่ดี

0.00
2 เพื่อให้อสม.ใช้เครืองมือสำหรับการประเมิน เช่น DSPM ST5 2Q Mini-Cog BS4 ได้

สามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้  100 %

0.00
3 เพื่อให้อสม.สามารถคัดกรองประเมินภาวะด้านสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

0.00
4 เพื่อให้อสม.มีความรู้เรื่องสุขภาพจิตในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสุขภาพจิตในชุมชน100%

0.00
5 เพื่อให้อสม.ได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนใช้ชีวิตชุมชนร่วมกับผู้ป่วยแบบ ยอมรับซึ่งกันและกัน

กลุ่มเป้าหมายได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนร่วมกับผู้ป่วยแบบยอมรับซึ่งกันและกัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/09/2020

กำหนดเสร็จ 04/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรและผู้จัดอบรมฯ จำนวน 70  คนคนละ 1 มื้อมื้อละ 60 บาท                                         เป็นเงิน  4,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรและผู้จัดอบรมฯจำนวน 70  คนคนละ 2 มื้อมื้อละ 25 บาท                                            เป็นเงิน   3,500  บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร วันที่ 21  สิงหาคม 2563 จำนวน  2 คนๆละ จำนวน 3 ชม. x  600 บาท/วัน   เป็นเงิน  3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กันยายน 2563 ถึง 4 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ส่งเสริมด้านสุขภาพจิตในชุมชน
๒.กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้๓.กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง
4.กลุ่มเป้าหมายได้แนวทางการดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนร่วมกับผู้ป่วยแบบยอมรับซึ่งกันและกัน


>