กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

กองสาธารณสุข อบต.น้ำผุด

ห้องประชุมสายน้ำผุด องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 63,859 ราย เสียชีวิต 1,380 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จำนวน 582 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 67,088 ขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรคสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 33 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14กุมภาพันธ์ 2563)

ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด
2. เพื่อให้เกิดกระบวนการ/กลไกการเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
โครงการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34460.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,460.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>