กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเเละป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเเละโรคเบาหวานปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภสพตำบลกะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจเเละสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการเเข่งขันสร้างความมั่นคงให้เเก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม เเละเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้ิงกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ เเละมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงเเละเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะวุอ ปี 2561 ประชากร 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดัน จำนวน 1,243 คน คิดเป็นร้อยละ 97.45 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 379 คน คิดเปฝ้นร้อยละ 30.44 แและกลู่มเสี่ยงสูงจำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 8.27 เเละประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 1299 คน คิดเป็นร้อยละ 98.45 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ18.88
นอกจากนี้กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ปี 2561 ได้รับการคัดกรอง CVD Risk จำนวนทั้งสิ้น 278 คน คิดเป็นร้อยละ 90.96 เเละจากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตเเละน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเเต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเเละความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบนั่น คือการเกิดภาวะเเทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว เเละตระหนักถึงถภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จำทำโครงการควบคุมเเละป้องกันฌรคความดันโลหิตสูงเเละโรคเบาหวานขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ เเละสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังเเละป้องกันภาะเเทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเเละความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน ร้อยละ 90

60.00 90.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 60

60.00 80.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการดูเเลรักษาเเละได้รับการส่งต่อตามเเนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี

ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการคัดกรองภาวะเเทรกซ้อน ตา ใจไต เท้า ร้อยละ60

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองในชุมชนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรค Matabolic

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองในชุมชนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรค Matabolic
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200 คน50 บาท   เป็นเงิน  10,000 บาท -ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม  จำนวน  200 คน2 มื้อ*25 บาท   เป็นเงิน  10,000 บาท เป็นเงิน   20,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเเละความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มป่วยความดันเบาหวาน หัวใจ เเละคัดกรอง CVD RISK

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มป่วยความดันเบาหวาน หัวใจ เเละคัดกรอง CVD RISK
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  200 คน50 บาท   เป็นเงิน 10,000  บาท
-ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม   200 คน
225 บาท   เป็นเงิน  10,000  บาท -ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม     1. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง   เป็นเงิน   7,800  บาท     2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วย    เป็นเงิน   5,200  บาท     3. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 21 เมตร    500     บาท เป็นเงิน  33,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ป่วย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.
  • ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการดูเเลรักษาเเละได้รับการส่งต่อตามเเนวทางปิงปองวงจรชีวิต 7 สี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 5 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน
2.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูเเลสุขภาพเบื้องต้น/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
3.อสม.มีความรู้ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน อย่างถูกต้องเเละสามารถให้คำเเนะนำในการปฏิบัติตนเเละการรักษาได้อย่างเหมาะสม
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เเละกลุ่มป่วย ได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. เเละมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง


>