กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ“STOP TB” ในกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรค ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์วัณโรคในจังหวัดสตูล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 – 2558 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 421 ราย, 398 ราย, 378 ราย และ 366 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหมุ่ถึงแม้จะมีจำนวนลดลงแต่ก็ยังคงมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2561มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 2 ราย ปี 2562มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 1 ราย ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโรควัณโรคในชุมชน โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพของ อสม. ในเรื่องของโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้องรวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค ให้มีการดำเนินการส่งต่อเพื่อเข้ารับรักษาโดยเร็ว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้
2 เพื่อให้แกนนำสุขภาพและได้รับความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ“STOP TB” ในกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการ“STOP TB” ในกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง จนท. อสม.  และผู้นำชุมและแกนนำสุขภาพ  กลุ่มเสี่ยงเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 2.  รุ่นที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองแก่แกนนำสุขภาพ  60  คน  จำนวน 1 วัน      รุ่นที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการป้องกันตนเองแก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน  50  คน จำนวน 1 วัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ ได้รับการคัดกรองเชิงรุกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.แกนนำสุขภาพทุกคนมีความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3.กลุ่มเสี่ยงทุกคนมีความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองอย่างครอบคลุม
2.กลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา
3.สามารถป้องกันการระบาดของโรควัณโรคในชุมชนได้
4.ประชาชนเกิดความตระหนักและมีความรู้ในเรื่องของโรควัณโรคเพิ่มขึ้น


>