กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำหรือที่เรียกว่าขยะได้ทุกชนิด
พื้นที่เขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ ตำบลน้ำผุด.เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี พ.ศ.2558 จำนวน 32 ราย พ.ศ.2559 จำนวน129ราย พ.ศ. 2560จำนวน 5รายพ.ศ. 2561จำนวน 25ราย พ.ศ. 2562 จำนวน 22 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญจึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องกันไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดตัวแก่ยุงลาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1..จัดเตรียมสื่อความรู้ ไข้เลือดออก ให้สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน เช่น ศาลาประจำหมู่บ้าน มัสยิด และรพ.สต. - ไวนิลความรู้ไข้เลือดออกขนาด 2.4  ม.X 4.8 ม. จำนวน 6 แผ่น ๆ ละ 1,440 บาท เป็นเงิน 8,640 บาท 2.ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และหาแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ครัวเรือน และการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี ค่าวิทยากร  จำนวน  2  วัน ๆ ละ 4 ชม. ละ 600 บ.x 1 คน =  4,800  บ. ค่าอาหารกลางวัน  80 บ. X 200 คน x 2 มื้อ = 32,000   บ. ค่าอาหารว่าง 30 บ.x 200 คน x 4 มื้อ =24,000 บ. ค่าวัสดุอบรม 100 บ. X 200 คน =20,000

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
89440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา
2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลน้ำผุดลดลง
3.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก


>