2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายอาหารปลอดภัย เพื่อให้อาหารที่ผลิตและบริโภคภายในประเทศมีความปลอดภัยในระดับสากลและเป็นครัวอาหารโลก โดยได้กำหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภคใน3 กลุ่ม คือ อาหารสด อาหารแปรรูปและอาหารปรุงทั้งกลไกการดำเนินงานที่สำคัญคือบทบาทของภาครัฐ บทบาทด้านผู้ประกอบการและบทบาทด้านผู้บริโภค ร่วมดำเนินการเพื่อบรรลุนโยบายดังกล่าว
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอ และทำให้อวัยวะต่างๆทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องบริโภคอาหารทุกวัน และอาหารที่บริโภคนั้นควรมีความครบถ้วนทั้งด้านปริมาณ คุณค่าสารอาหาร และคุณภาพด้านความสะอาด ปลอดภัย สมกับเป็นรากฐานสำคัญของสุขภาพ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าอาหารที่บริโภคกลับเป็นช่องทางนำสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย และเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยมีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ สารเคมี และโลหะหนัก ประกอบกับแบบแผนการบริโภคที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากเดิมมีการปรุงประกอบอาหารรับประทานในครัวเรือน สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการผลิต การเตรียม และการปรุงอาหารได้ เปลี่ยนเป็นการซื้ออาหารปรุงสำเร็จหรือรับประทานอาหารจากแหล่งผลิตภายนอก เช่น ร้านอาหาร หรือแผงลอยจำหน่ายอาหาร ดังนั้นผู้บริโภคควรมีหลักการพิจารณาร้านอาหารที่สะอาดได้มาตรฐาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งเป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค และผู้ประกอบการต้องมีความสามารถในการควบคุมสภาพแวดล้อมในการผลิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย โดยเน้นส่งเสริมตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภค เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่มากับอาหารและการปนเปื้อนของอาหารอันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ตำบลตลิ่งชัน ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชนเป็นหลัก จึงได้จัดทำ “โครงการอาหารปลอดภัย” ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste ตลอดจนเพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 18/09/2020
กำหนดเสร็จ 18/11/2020
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
*** ทุกรายการค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน
ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste
ลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งมีสาเหตุจากร้าน
จำหน่ายอาหาร โรงอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร