กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียนวัดขวาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

โรงเรียนวัดขวาง

โรงเรียนวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

 

42.00
2 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

 

118.00
3 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

85.00
4 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

95.00
5 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

 

85.00
6 จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะสายตาสั้นและเอียง(คน)

 

0.00
7 จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)

 

0.00
8 จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย(คน)

 

0.00
9 จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

 

0.00

นักเรียนคือหัวใจของการจัดการศึกษา โรงเรียนวัดขวาง มีความตระหนักในความสำคัญ และเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องร่วมกันหาแนวทางที่เป็นรูปธรรม ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นไปตามหลักสูตร มีทักษะชีวิตที่จะดูแลตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม อุบัติเหตุ และการกระทำที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่นักเรียน ดังนั้นโรงเรียนวัดขวาง ซึ่งมีภารกิจและความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากลแนวทางการวางแผนการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียน เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย โดยร่วมกันวางแผนป้องกัน แก้ไข ควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานจึงจำเป็นต้องมีมาตรการและกิจกรรมเพื่อให้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พร้อมทั้งนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

42.00 42.00
2 เพื่อแก้เด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

118.00 48.00
3 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

85.00 38.00
4 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

95.00 48.00
5 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

85.00 42.00
6 เพื่อแก้ปัญหาเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะสายตาสั้นและเอียง

จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะสายตาสั้นและเอียง(คน)

0.00 0.00
7 เพื่อเพิ่มทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำแก่เด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)

จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)

0.00 0.00
8 เพื่อแก้ปัญหาเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)  ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย(คน)

0.00 0.00
9 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

ร้อยละของการแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

0.00 0.00

1. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน เกิดความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ
2. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 132
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การขับขี่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การขับขี่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน 1. ชี้แจงโครงการ ให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียนทราบ
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ เชิญวิทยากร เจ้าหน้าที่ตำรวจ -ให้ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยของและเป็นผู้โดยสารที่ดี -กฎจราจรและเครื่องหมายจราจร -กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการขับขี่ 3. จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุโรงเรียน 4. สรุปผลการดำเนินงานและการทำกิจกรรมต่อเนื่อง

งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลวัดขวาง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จำนวน 14,295 บาท รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับครู และผู้ปกครอง (ครู 12 คน ผู้ปกครอง 60 คน) (72 x 25 บาทx 2 มื้อ) เป็นเงิน 3,600 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนช่วงบ่าย (นักเรียน 60 คน) (60 x 25 บาทx 1 มื้อ) เป็นเงิน 1,500 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับครูและผู้ปกครอง (ครู 12 คน ผู้ปกครอง 60 คน) (72 x 50 บาทx 1 มื้อ) เป็นเงิน 3,600 บาท 4. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท/ชั่วโมง จำนวน 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์
- ป้ายไวนิลโครงการ (1.5 ม. x 2 ม.) เมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม (20 แผ่น x 0.50 บาท x 87 คน) เป็นเงิน 870 บาท - แผ่นป้ายความรู้ขนาด (2.25 ม. x 1 ม.) จำนวน 2 ป้าย ตารางเมตรละ 150 เป็นเงิน 675 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองและนักเรียน เกิดความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทใน การขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ
  2. มีแกนนำนักเรียนสามารถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14295.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,295.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองและนักเรียน เกิดความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ
2. มีแกนนำนักเรียนสามารถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ


>