กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพผู้ประกอบอาชีพอิสระ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

อสม.ตำบลละหาร

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคที่เกิดจากการทำงานหรือโรคจากการประกอบอาชีพ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติเมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญต่อครอบครัวย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ทั้งในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เช่น ร้านเสริมสวย บริการซัก-รีด ร้านอาหาร ร้านขายเสื้อผ้าเป็นต้น ผู้ที่ประกอบอาหชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเองไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ หากเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครีัวเรือนและคุณภา่พชีวิตของสมาชิกในครอบครัว
ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระจึงเป็นเรื่องสำคัญ องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพอิสระ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพอิสระเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสิรมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงาน สนับสนุนให้มีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงจากการทำงานให้กับกลุ่มอาชีพดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการป้องกีันตนเองให้ปลอดโรคจากการประกอบอาชีพ
2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบอาชีพอิสระในกิจกรรมการดำเนินงานด้านการป้องกันตนเองให้ปลอดภัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2020

กำหนดเสร็จ 31/10/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพผู้ประกอบอาชีพอิสระ

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพผู้ประกอบอาชีพอิสระ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างเสริมป้องกันโรคให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  2. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,300.00 บาท

หมายเหตุ :
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 1,500.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3.0 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 750.-บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600.-บาทเป็นเงิน 1,800.-บาท
- ค่าถ่ายเอกสาประกอบการอบรมเป็นเงิน 5,500.-บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด1.2x2.5 เมตรเป็นเงิน 750.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,300.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค จากการประกอบอาชีพ
2. ประกอบอาชีพอิสระมีส่วนร่วมของกิจกรรม การดำเนินการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ


>