กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (สร้างสุขด้วยธรรมะ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งคา

อาคารอเนกประสงค์ วัดทุ่งคา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ธรรมชาติของผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เริ่มเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ร่างกายไม่เอื้อำนวยให้ยืน เดิน นั่งนานๆ หรืออยู่ในสถานที่ที่แออัด การระบายอากาศไม่ดีเพราะภูมิต้านทานโรคต่ำ ความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัดลดลง มีปัญหาเรื่องสายตาและการได้ยิน รวมถึงความเสี่ยงของร่างกายหลายอย่างรวมกัน มีอารมณ์แปรปรวนซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ ผู้สูงอายุควรมีการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ครั้งละ 25 - 30 นาที จำนวน 3 - 5 ครั้งต่อสัปดาห์ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารประเภททอดและวิธีการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอ
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งคา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (สร้างสุขด้วยธรรมะ) เพื่อส่งเสิรมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุโดยการเข้าวัด ปฏิบัติธรรมและกาคลองศี, 8 ตลอดจนเพื่อการฟื้นฟุสถาพจิตใจและร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในครอบครัวและสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ ได้รักษาศีล เข้าวัดฟังธรรมะ ฝึกนั่งสมาธิ กล่อมเกลาจิตใจ
2. เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีจิตสาธารณะ ร่วมคิดร่วมทำ
3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มวัยผู้สูงอายุมีความสุขอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติทางศาสนา หลือหลอมและฝึกฝนให้มี่แนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2020

กำหนดเสร็จ 31/10/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (สร้างสุขด้วยธรรมะ)

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (สร้างสุขด้วยธรรมะ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนการวางแผนงาน    - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้เาหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูแปบบวิธีการดำเนินงานโครงการ    - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ    - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกียวข้อง
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน    - ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน เผยแพร่ แนะนำ ชวนเชิญสมาชิกเพิ่มเติม    - ดำเนินการตามโครงการอย่างต่อเนื่อง สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำบุญตักบาตร สนทนาธรรม ฝึกนั่งสมาธิ เดือนละ 2 ครั้ง
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน
  5. สรุปผลการดำเนิงานตามแผนโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,350.00 บาท

หมายเหตุ :
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 5,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 5,000.-บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600.-บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมเป็นเงิน 5,000.-บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด1.2x2.5 เมตรเป็นเงิน 750.-บาท
รวมเป็นเงิน 19,350.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการปลูกฝังจริยธรรมและเข้าใจหลักการธรรมะมากขึ้น
2. ผู้สูงอายุนำหลักธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน
3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น


>