กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละหาร

ชมรมผู้สูงอายุตำบลละหาร

ชมรมผู้สูงอายุตำบลละหาร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Diseases) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงทุกปี ในจำนวนนี้มากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคกลุ่มนี้เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไใม่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่การรัปทานอาหารที่มากเกินพอดี ไม่สมดุล รัปทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม รัปทานผักผลไม้น้อย ใช้เครื่องอำนวยความสะดวกม ากขึ้น มีกิจกรรมทางกายน้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงด้ายพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวานและนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ชมรมผู้สูงอายุตำบลละหาร ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินมาตรการเชิงรุกการตรวจคัดกรองสุขภาพ โดยนหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยพร้อม ๆ กัน เพื่อทำนายโอกาสเกิดโรคภายในอนาคตข้างหน้า จะทำให้ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสามารถจัดการตนเองได้ ด้วยการบสนุนจาก อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสข เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม ส่งผลให้น้ำหนักตัว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนั้นการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสม ภาวะซึมเศร้าและการดูแลอย่าต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตและลดภาระของลูกหลานและสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
2. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแลรักษาและติดตามความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
3. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต สามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการคัดงกลุ่มเสี่ยงและติดตามดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2020

กำหนดเสร็จ 31/10/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มี่ภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มี่ภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนการวางแผนงาน    - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ    - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ    - ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน    3.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ในเรื่องสุขภาพจิต โรคหลอดเลือดและแบบคัดกรองต่าง ๆ ได้แก่          - การใช้แบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือ (VCD Risk)          - การใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า    3.2 อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.ละหาร ดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (VCD Risk) และคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า    3.3 การคัดกรองประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือ (VCD Risk) พบว่าถ้ามีความเสี่ยงสูงหรือสูงมาก นำผู้ป่วยมารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รายบุคคล    3.4 แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ถ้าพบค่าคะแนนตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป ให้ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลยี่งอ ต่อไป    3.5 อาสาสมัครสาธารณสุขออกเยี่ยมบ้าน เพื่อติตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแลสุขภาพจิต สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
  3. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน สามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและติดตามดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,350.00 บาท

หมายเหตุ :
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000.- บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 5,000.-บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 750.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,350.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง
2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแลสุขภาพจิต สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน สามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและติดตามดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม


>