กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันวัณโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวาง

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

2,011.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

1,731.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

0.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
5 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

294.00

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง จากรายงานองค์การอนามัยโลกปี 2559 คาดประมาณว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรค 120,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรค ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 15,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา หลายขนาน 4,500 ราย จากผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่า มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค 73,756 ราย โดยมีอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 77.6 เป็นต้องเร่งรัดความสำเร็จการรักษาให้ได้ตาม เป้าหมายที่ร้อยละ 90 โดยเร่งรัดลดการตาย ลดการขาดยา และพัฒนาระบบส่งต่อและติดตามผลการรักษา
วัณโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นได้ทุกอวัยวะ แต่พบมากที่สุดคือที่ปอด อาการจะเริ่มจากมีไข้ต่ำ ๆ ในช่วงบ่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ไอเรื้อรัง หากปล่อยไว้นานจะมีอาการไอปนเลือด เชื้อจะอยู่ในเสมหะ สามารถลอยไปในอากาศและติดคนอื่นได้ คนที่เสี่ยงติดเชื้อวัณโรคง่ายมี 3 กลุ่มคือ ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง ฉะนั้นหากพบเห็นผู้ที่มีอาการดังกล่าว ให้แนะนำหรือพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอด เพื่อรับการดูแลรักษาให้หายขาด ไม่แพร่เชื้อสูคนอื่น
จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ตำบลวัดขวางตระหนักถึงปัญหาของวัณโรคในปี 2560 , 2561 , 2562พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ อัตราป่วย 37.29, 130.84, 56.12 ตามลำดับและในปี 2561 เสียชีวิตจากวัณโรค2ราย ในปี 2562 เสียชีวิตจากวัณโรค 2 ราย เนื่องจากผู้ป่วยที่พบมีอายุมากจึงเร่งพัฒนาองค์ความรู้ในแกนนำและมีการตรวจค้นหา คัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อทำการรักษาได้ทันท่วงที ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคสามารถปฏิบัติตัวและรับประทานยาได้อย่างถูกต้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวางตระหนักถึงปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยวัณโรคจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

2011.00 197.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

1731.00 213.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

0.00 0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

0.00 0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

294.00 29.00

1. เพื่อให้แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรควัณโรคและสามารถดูแลผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่
2. แกนนำสามารถดูแลติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นและกำกับการกินยา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และทักษะคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแก่แกนนำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และทักษะคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแก่แกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. จัดหาแกนนำในหมู่บ้านทั้ง 8 หมู่บ้าน หมู่ละ 5 คน จำนวน  40  คน 2. อบรมให้ความรู้ และทักษะคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแก่แกนนำ 3. แกนนำและเจ้าหน้าที่ติดตามดูแล เยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคระบบยาระยะสั้นและกำกับการกินยาระบบ DOTS
4. ติดตามประเมินผลตามโครงการ

งบประมาณ     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง จำนวน  9,160 บาท  รายละเอียด  ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และทักษะคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแก่แกนนำ                เป้าหมาย คือ แกนนำหมู่ละ 5 คนจำนวน 8 หมู่บ้าน  จำนวน  40  คน                - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน  40  คน คนละ 50 บาท  จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,000  บาท                - อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท                - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
           - ค่าวัสดุ
               *.ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท               * เอกสารประกอบการอบรม  40 ชุด ชุดละ  30 บาท เป็นเงิน 1,200  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำมีความรู้เรื่องวัณโรคและทักษะในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 80
  2. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการกินยาและควบคุมการกินยาด้วยระบบ DOTS ทุกราย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำมีความรู้เรื่องวัณโรคและทักษะในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 80
2. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการกินยาและควบคุมการกินยาด้วยระบบ DOTS ทุกราย


>