กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก 0-5 ปี ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

ณ อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยทุกคน ซึ่งรัฐจะต้องจัดบริการให้กับประชาชนด้วย ความสะดวกปลอดภัย ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายในการเป็นภูมิคุ้มกันโรคจากการติดต่อบางชนิดได้แก่ วัณโรค ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบชนิดบี หัด และไขสมองอักเสบ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องมีการดำเนินการที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการใช้วัคซีนหรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด จึงสามารถป้องกันโรค ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5ปี ของตำบลจวบที่ผ่านมา พบว่า ความครอบคลุมของการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดในเด็ก 0-5ปี ในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมายังต่ำกว่าเป้าหมาย คือในเด็กอายุ1ปี ความครอบคลุมของการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้อยละ 68.79 และในอายุ2ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 61.99 เด็กอายุ 3ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ43.71 เด็กอายุ5ปี มีความครอบคลุมร้อยละ 25.88 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 90 จากรายงานดังกล่าวข้างต้น แสดว่า เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในเขตรับผิดชอบอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน และหากมีการเจ็บป่วยในพื้นที่ มีโอกาสแพร่เชื้อให้เด็ก 0-5ปี คนอื่นๆ ในเขตรับผิดชอบหรือพื้นที่ใกล้เคียงได้
ดังนั้น งานสาธารณสุข สำนัปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก0-5ปี ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์ 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  1. เด็กอายุ 0-5ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 อบรมให้ความรู้ อสม./แกนนำละ 2รุ่นๆละ 50คน (เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 อบรมให้ความรู้ อสม./แกนนำละ 2รุ่นๆละ 50คน (เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร600บาทx12ชั่วโมง(จำนวน 2รุ่น)=7,200.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน60บาทx100คนx1มื้อ=6,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่าง25บาทx100คนx2มื้อ=5,000.-บาท
  • ค่าวัสดุ(สมุด ปากกา กระเป๋า)60x100=6,000.-บาท
  • ค่าไวนิลโครงการ ขนาด1.2.x2.4 จำนวน 1ป้าย=720.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำเป็นแกนหลักในการติดตาม และให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5ปี ในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24920.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5ปี จำนวน 2รุ่นๆละ 50คน(เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5ปี จำนวน 2รุ่นๆละ 50คน(เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร600บาทx12ชั่วโมง(จำนวน 2รุ่น)=7,200.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน60บาทx100คนx1มื้อ=6,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่าง25บาทx100คนx2มื้อ=5,000.-บาท
  • ค่าวัสดุ(สมุด ปากกา กระเป๋า) 60x100=6,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน อสม.และแกนนำเป็นแกนหลักในการติดตามและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5ปี ในชุมชน
2. เด็กอายุ 0-5ปี ทุกคน ได้รับการฉีกวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ
3. เด็กอายุ 0-5ปี ไม่เกิดโรคระบาดที่เกิดจากการไม่ได้รับวัคซีนในพื้นที่


>