กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด

-

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

47.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

4.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

18.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

6.00

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื้น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้กลุ่มบุคคลเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งในปีที่ผ่านมา กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด มีเงินคงเหลือในกองทุนค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา ทั้งนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัส โคโรนา 2019 ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณของผู้ขอรับทุน หยุดชะงักลง ในส่วนของการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ก็ขาดความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ทำให้คณะกรรมการมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้สามารถรับรู้และเข้าใจแนวทางในการพิจารณาโครงการ การอนุมัติโครงการ ให้แก่หน่วยงานที่ขอรับทุนได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งในส่วนของหน่วยงานที่ขอรับทุน ยังไม่กระจายอย่างทั่วถึงเท่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้น การดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุน จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า85 %

47.00 85.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ 18 คน

18.00 18.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ อย่างน้อย5 กลุ่ม /หน่วยงาน

6.00 5.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ ร้อยละ 95

4.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด 18
คณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ 15
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวฯ 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การบริหารจัดการกองทุน

ชื่อกิจกรรม
1.การบริหารจัดการกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์สำหรับการดำเนินงานธุรการของกองทุน และเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้กับคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆดังนี้
1.ค่าจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 22,000 บาท
2.ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
3.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ฯลฯ เป็นเงิน 3,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนมีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมุลต่าง ๆ จำนวน 1 เครื่อง
กองทุนมีวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานธุรการของสำนักงานอย่างเพียงพอ กองทุนมีงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของคณะกรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของทุนอย่างเพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27400.00

กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะกรรมการกองทุน/อนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
การประชุมคณะกรรมการกองทุน/อนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ การใช้จ่ายงบประมาณ การพิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผลโครงการฯลฯ จำนวน 4 ครั้ง โดยมีค่าใข้จ่าย ดังนี้
-ค่าตอบแทนคณะกรรมการ จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 18 คน ๆ ละ 300 บาท/ครั้ง เป็นเงิน 21,600 -ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงกองทุน และบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการ พี่เลี้ยงกองทุนและบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนงาน/โครงการ  ได้รับการพิจารณาร้อยละ 100
การดำเนินงานต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31600.00

กิจกรรมที่ 3 การประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
การประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการและให้ความเห็นชอบแผนการดูแลรายบุคคล รับทราบรายงานผลการดำเนินงาน ตามโครงการ ของหน่วยจัดบริการ จำนวน 4 ครั้ง โดยมีรายละเอียด ค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ จำนวน 10 คน ๆ ละ 200 บาท/ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 8,000 บาท
-ค่าตอบแทนบุคคลภายนอก (CG)ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คนๆละ 2 ครั้ง ๆ ละ 200 บาท/คน เป็นเงิน 8,000 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการและแผนการดูแลรายบุคคลผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการร้อยละ 100 คณะอนุกรรมการรับทราบรายงานผลการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคลจาก CG ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการ/อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 2 คนๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 40 คน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการฝึกอบรม เช่น ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน2,500 บาท
-ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 1,500บาท
-ค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าพาหนะ เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าของที่ระลึก เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการ อนุกรรมการ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ อย่างน้อย 1 ครั้ง
คณะกรรมการ อนุกรรมการ ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนตัวอย่าง อย่างน้อย 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20700.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมปัญหาด้านสุขภาพจากประชาชน กลุ่ม องค์กร หน่วยงาน และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำปัญหา ความต้องการ มากำหนดเป็นประเด็นปัญหา สำหรับใช้ประกอบในการนำเสนอแผนงาน/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาโหนด โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 600 บาท/ชั่วโมง เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าอาหารกลางวันสำหรับวิทยากร ผู้เข้าร่วมประชุม และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร ผู้เข้าร่วมประชุม จนท.ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการจัดประชุม เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลที่ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน
เกิดโครงการเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 116,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กองทุน สามารถเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2564 ได้ไม่น้่อยกว่าร้อยละ 85
คณะกรรมการ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ อย่างน้อย 1 ครั้ง ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนมากยิ่งขึ้น การพิจารณาแผนงาน/โครงการ เป็นไปด้วยความถูกต้อง
หน่วยงานในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณไม่น้อยกว่า 5 หน่วยงาน
กองทุน สามารถติดตามโครงการ ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ


>