กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ (โรงเรียนชราบาล)ตำบลฝาละมีประจำปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ (โรงเรียนชราบาล)ตำบลฝาละมีประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

ชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี

1.นายประยูรชูแก้ว
2. นายคล่องบุญช่วย
3. นายสะมะแอหมัดหมัน
4. นางสาวโสพิศภักดีบำรุง
5. นางพานุชโร

ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นบุคคล ที่สถาบันครอบครัวไทยให้การเคารพยกย่องมากที่สุด เพราะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในชีวิตสูง เป็นผู้ถ่ายทอดความสามารถประเพณี วัฒนธรรมและค้ำจุนจิตใจ ให้แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคม ได้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
แต่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยจะสูญเสียความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันความสามารถเสื่อมถอย ต้องอาศัยญาติและครอบครัวคอยดูแล ทำให้เป็นภาระ ผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุเกิดจากกระบวนการการสูงวัยและโรคต่าง ๆมากมายทำให้เกิดปัญหา ทั้งด้านสุขภาพ กาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเกี่ยวกับครอบคัว และปัญหา ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เป็นกลุ่มประชากรที่ใช้บริการสุขภาพสูงกว่าวัยอื่นๆ และจะต้องใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในด้านการรักษาพยาบาลสูง
ผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านในเขตตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุงสมาชิกทั้งหมด 712 คน จากการสำรวจสภาวะพบว่า มีปัญหาด้านสุขภาพและวิตกกังวลสูง โดยพบการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 42.83 โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 13.48 โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 9.55 โรคเบาหวาน จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 16.85โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 17.27 การได้รับความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถป้องกันและแก้ไขภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกปัญหาสุขภาพร่างกาย รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิต ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบรูณ์แข็งแรง
อย่างไรก็ตามการมารับความรู้ในโรงเรียนผู้สูงวัย พร้อมกับการออกกำลังกายนี้จำเป็นต้องจัดให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น เพศ และความแข็งแรงที่มีอยู่ เนื่องจากการออกกำลังกายมากเกินไป หรือหักโหมจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้การออกกำลังกายเป็นประจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุเพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการเสื่อมโทรมของร่างกายแล้วยังสามารถแก้ไขความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยการออกกำลังกาย
ชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ คุณค่าของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม จึงได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ (โรงเรียนชราบาล) ตำบลฝาละมีประจำปี 2564เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้มีโอกาสเข้าอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้มีโอกาสเข้าอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
  • ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค  ร้อยละ  80
50.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล
  • จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น
30.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
  • ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้น ร้อยละ  50
30.00 50.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน
  • ผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 ได้ทำ   กิจกรรมด้านศาสนาร่วมกัน
50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 01/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานชี้แจงโครงการจำนวน 30 คน จำนวน1 ครั้ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2564 ถึง 25 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมทบทวนหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของคนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทบทวนหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของคนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทบทวน/พิจารณาจัดทำหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การดูแลตนเองป้องกันในการหกล้ม การดูแลในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2564 ถึง 13 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1650.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริม การจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ประเด็น
- การดูแลตนเองป้องกันในการหกล้ม
- การดูแลในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ - การดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ
- กิจกรรมนันทนาการ เช่น รำวง
- กิจกรรมบุญประเพณีตามวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันมาฆะบูชาวันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา
- จัดทำกลุ่มส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
- การค้นหาภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ - ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงานการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน ๆ ละ 25 บาท ต่อครั้ง จำนวน 12 ครั้ง เป็นเงิน 24,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 21ชั่วโมงๆ 300 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.5 X 2.5 เมตร เป็นเงิน750บาท - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 80 คน ๆ ละ 50บาท เป็นเงิน 4,000บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นเงิน8,750 บาท รวมเป็นเงิน 44,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน จำนวน 12 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44300.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแก่แกนนำผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแก่แกนนำผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแก่แกนนำผู้สูงอายุจำนวน 50 คน หลักสูตร 3 วัน -ค่าอาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็นและมื้อเช้า จำนวน5 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 20,000 บาท-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 5 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 50 คน เป็นเงิน 6,250 บาท -ค่าบำรุงสถานที่ปฏิบัติกิจกรรม/ที่พัก เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าป้ายโครงการ ป้ายละ 750 บาท - ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากรการอบรม จำนวน 8 ชั่วโมงๆ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าเช่าเหมารถบัสโดยสาร จำนวน 1 คัน วันละ 12,000 บาทต่อคัน จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 36,000 บาท รวมเป็นเงิน 71,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำผู้สูงอายุ  จำนวน 50 คน หลักสูตร 3 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
71800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 118,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

(1)ความต่อเนื่องยั่งยืน ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน และดูแลอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยสหวิชาชีพ และ อสผ.
- ผู้สูงอายุห่วงใยไม่ทอดทิ้งกันมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน
- ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อายุยืนเกิน 80 ปี
- ผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี มีรายได้เพิ่ม
(2)การขยายผล
ขยายผลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการฯและผู้ที่จะเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมรคุณค่า คุณภาพต่อไป


>