กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดเหาด้วยสมุนไพรให้กับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง)

1. นางมีนา มะสาแม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โทร. 087-570-5939
2. นางสาวจำปี นนทพักตร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
3. นางสาวผกามาตร บูหมิด ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
4. นางนออาซี เข็มสาแม็ง ตำแหน่ง ครู
5. นางสาวเอื้องฟ้า ชินไชยชนะ ตำแหน่ง ครู

โรงเรียนเทศบาล ๑ (ราษฎรบำรุง)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เรียนที่เป็นเหา

จากการสำรวจของครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2563

30.00
2 ร้อยละของผู้เรียนที่ขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของศีรษะ

 

75.00

จากข้อมูลการสำรวจจากครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2563 พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 30 เป็นเหา และพบว่าผู้เรียนร้อยละ 75 ยังขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของศีรษะ ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นเหาและบางคนมีเชื้อราบนหนังศีรษะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนในวัยเรียนหายขาดจากการเป็นเหาและมีอัตราการเป็นเหาลดลง

ร้อยละของผู้เรียนที่เป็นเหามีอัตราการเป็นเหาลดลง

30.00 10.00
2 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของศีรษะ

ร้อยละของผู้เรียนที่ขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของศีรษะมีจำนวนลดลง

75.00 20.00
3 เพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการกำจัดเหาและสามารถกำจัดเหาโดยใช้สมุนไพรจากธรรมชาติในท้องถิ่นได้

ร้อยละของนักเรียนที่รู้วิธีการกำจัดเหาและสามารถกำจัดเหาโดยใช้สมุนไพรจากธรรมชาติในท้องถิ่นได้

75.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นเหา 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องเหาและการดูแลสุขอนามัยของหนังศีรษะของนักเรียนแก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่เป็นเหา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องเหาและการดูแลสุขอนามัยของหนังศีรษะของนักเรียนแก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่เป็นเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองและนักเรียนที่เป็นเหา รวมจำนวน 300 คน
กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันเหา การดูแลสุขอนามัยของหนังศีรษะและสาธิตวิธีการหมักเหา โดยเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาล จัดอบรมภายในระยะเวลาครึ่งวัน
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 300 คน x 1 มื้อ =7,500 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. = 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันเหาเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 90
  2. ผู้ปกครองและนักเรียนสามารถดูแลสุขอนามัยของหนังศีรษะของผู้เรียนได้ มากกว่าร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

กิจกรรมที่ 2 กำจัดเหาให้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กำจัดเหาให้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนที่เป็นเหา จำนวน 150 คน
กิจกรรม ดังนี้ สำรวจนักเรียนที่เป็นเหา โดยให้ครูประจำชั้นสำรวจนักเรียนในแต่ละห้อง และหมักเหาให้กับนักเรียน
มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่ายาสมุนไพรกำจัดเหา จำนวน 220 ขวด ขวดละ 25 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
- ค่าหมวกตัวหนอน จำนวน 150 ใบ ใบละ 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าผ้าขนหนู จำนวน 13 โหล โหลละ 300 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท
- ค่าหวีเสนียด จำนวน 150 อัน อันละ 10 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 3 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กำจัดเหาให้แก่นักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในวัยเรียนหายขาดจากการเป็นเหาและมีอัตราการเป็นเหาลดลง
2. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของศีรษะ
3. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของศีรษะ


>