กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยอะห์มาดียะห์ ฟันดี ชีวีสดใส ด้วยมือของเรา ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์

นางสาวโนรา แวสมะแอแว
ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก เบอร์โทรศัพท์ 089-9741906

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีปัญหาฟันน้ำนมผุ

 

67.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพในช่องปาก

 

60.12
3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่แปรงฟันผิดวิธี

 

93.00

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีด้วย จากการสำรวจพฤติกรรมและสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน พบว่าเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์มีอัตราการเกิดฟันนำ้นมผุร้อยละ 67 โดยปัจจัยหลักในการเกิดฟันนำ้นมผุ คือ เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยม ทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไป จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยเป็นส่วนมากและเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนร้อยละ 60.12 ส่งผลให้เกิดปัญหาการเกิดโรคฟันนำ้นมผุในเด็กเล็ก เกิดการเจ็บปวด สภาวะเหงือกอักเสบ การบดเคี้ยวอาหาร ยังมีผลต่อนำ้หนัก การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ร้อยละของเด็กนักเรียนแปรงฟันไม่ถูกวิธี 93 ส่งผลให้การแปรงฟันไม่สะอาดได้อย่างทั่วถึง ก่อให้เกิดฟันนำ้นมผุและเกิดผลเสียต่อเหงือกและฟัน ดังนั้นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันนำนมผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น เพราะหากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถรักษาฟันนำ้นมให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้อย่างประสิทธิภาพ ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส สร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก จึงเหมาะแก่การปลูกฝังและส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพให้มากที่สุดจากความสำคัญดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและป้องกันฟันนำ้นมผุของเด็กนักเรียน

เด็กนักเรียนมีฟันน้ำนมผุที่ลดลง

67.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน

ผู้ปกครองขาดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนมีจำนวนลดลง

60.12 30.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนแปรงฟันอย่างถูกวิธี

เด็กนักเรียนแปรงฟันผิดวิธีลดลง

93.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 103
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง สาธิตการแปรงฟัน และสนทนากลุ่ม (Focus Group)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง สาธิตการแปรงฟัน และสนทนากลุ่ม (Focus Group)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง จำนวน 103 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ถ่ายทอดความรู้เนื้อหาและประสบการณ์ ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กปฐมวัย - กิจกรรมสาธิตการแปรงฟัน เป็นกิจกรรมที่วิทยากรให้การสาธิตถึงวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องให้กับผู้ปกครอง แล้วให้ผู้ปกครองสาธิตย้อนกลับกับเด็กนักเรียน
- สนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและแสดงออกทางความคิดเห็นได้อย่างแท้จริงและเปิดเผย แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์ร่วมกัน ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กปฐมวัย - กิจกรรมการจัดบอร์ดถ่ายทอดให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องทันตสาธารณสุข รายงานการดำเนินงานในกิจกรรมทันตสาธารธสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เด็ก ผู้ปกครองและคนทั่วไปได้รับความรู้ ประสบการณ์และได้ชมตามความเหมาะสมของกิจกรรม
กำหนดการอบรม
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. เปิดพิธี
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องสถานการณ์สภาวะทันตสุขภาพในอำเภอสุไหงโก-ลก ทันตสาธารณสุขสำหรับเด็กปฐมวัย สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีและกิจกรรมสนทนากลุ่มนำความรู้และประสบการณ์นำมาคิดแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกัน
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 103 คน เป็นเงิน 2,575 บาท
2. ค่าแปรงสีฟัน 50 บาท x 103 คน เป็นเงิน 5,150 บาท
3. ค่ายาสีฟัน 27 บาท x 103 คน เป็นเงิน 2,781 บาท
4. ค่ากระดาษสร้างแบบ 24 แผ่น x 5 บาท เป็นเงิน 120 บาท
5. ค่าปากกาเคมี 48 ด้าม x 16 บาท เป็นเงิน 768 บาท
6. ค่าไวนิลป้ายโครงการ 1 ผืน x 700 บาทเป็นเงิน 700 บาท
7. ป้ายไวนิล พร้อม x - stand (ป้ายความรู้เกี่ยวกับงานทันตสาธารณสุข) 2 ผืน x 1,700 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท
8. ค่าอุปกรณ์ในการจัดบอร์ด เป็นเงิน 1,200 บาท
9. ตุ๊กตาโมเดลฟัน 1 ตัว x 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
10. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 1 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนได้
ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนแปรงฟันที่ถูกวิธี
ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างองค์ความรู้ต่างๆในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของเด็กนักเรียนได้
เด็ก ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปได้รับข่าวสารศึกษาหาความรู้ในเรื่องทันตสาธารณสุข และความก้าวหน้าของกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องทันตสาธารณสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21994.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,994.00 บาท

หมายเหตุ :
ถั่วเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ส่งเสริมและป้องกันฟันนำ้นมผุของเด็กนักเรียนได้
2. ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนได้
3. เด็กนักเรียนแปรงฟันถูกวิธี


>