กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการธนาคารสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรมไลน์แดนซ์สุไหงโกลก

1. นางสาวกัณตารัช คงรังษี โทร. 097-3488612
2. นางวณิชา พรหมพูลโทร. 081-5994697
3. นางสุพัฒน์เลิศพัฒนกิจ โทร.0869628722
4. นางขวัญจิตรโชติทักษิณ โทร. 081-3886349
5. นางวิลาพรรณ จันแกมแก้ว โทร.084-9658431

สวนภูมินทร์ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะอ้วนลงพุง

 

50.00
2 ร้อยละของผู้ที่มีดรรชนีมวลกายเกินมาตรฐานมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง

 

40.00

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก ส่งผลกระทบทางสุขภาพมากมายทั้งผลกระทบเฉียบพลันและปัญหาเรื้อรัง ทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตโรคอ้วน หมายถึง การมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติไม่ได้หมายถึง
การมีน้ำหนักมากอย่างเดียว โรคอ้วนเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสะสมพลังงานจากการรับประทานอาหารมากกว่าการเผาผลาญอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
โรคอ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome หมายถึง กลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติทำให้คนอ้วนลงพุงจะมีการสะสมของไขมันบริเวณช่องเอว หรือช่องท้องปริมาณมากเกินไป ซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานนอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดผิดปกติความดันโลหิตสูงในที่สุดจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ลดจำนวนผู้ที่มีดรรชนีมวลกายเกินมาตรฐาน

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะอ้วนลงพุงและผู้ที่มีดรรชนีมวลกายเกินมาตรฐานลดลง

50.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้ที่มีดรรชนีมวลกายเกินมาตรฐานมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารไปในทางที่ดีขึ้น

ร้อยละของผู้ที่มีดรรชนีมวลกายเกินมาตรฐานมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

40.00 60.00

ข้อที่ 1 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแก่สมาชิกกลุ่มไลน์แดนซ์และประชาชนทั่วไป อัตราการรับรู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้เข้าร่วมโครงการ
≥ ร้อยละ 85
ข้อที่ 2 เพื่อรณรงค์และจูงใจให้สมาชิกกลุ่มไลน์แดนซ์ และประชาชนทั่วไปได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ เพศและวัย โดยใช้ไลน์แดนซ์มาสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้เข้าร่วมโครงการ < ร้อยละ 20
ข้อที่ 3 เพื่อสนับสนุนให้เกิดความสามัคคีระหว่างสมาชิกกลุ่มไลน์แดนซ์ โดยการร่วมกันเรียนรู้การใช้การยศาสตร์ดูแลสุขภาพของสมาชิกกลุ่มและสามารถแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจการออกกำลังกายที่ถูกวิธี สมาชิกกลุ่มไลน์แดนซ์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 คน ภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังเสร็จสิ้นโครงการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพและประเมินสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพและประเมินสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วน จำนวน 50 คน
กิจกรรม ดังนี้
รับสมัครผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วน จำนวน 50 คน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพื่อประเมินดัชนีมวลกายและประสานติดต่อวิทยากรทางด้านสาธารณสุขจาก รพ.สุไหง โก-ลกมาให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ภาวะโภชนาการและการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพที่ดี
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 60คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 60คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตรวจสุขภาพ 50 บาท x 3 ชม. x 4 คน เป็นเงิน 600 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุม ได้แก่ สมุด ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 1,600 บาท
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน และพิธีเปิดโครงการ
09.00 - 12.00 น. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ภาวะโภชนาการและการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพที่ดี

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ
  2. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกกำลังกายโดยใช้ไลน์แดนซ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกายโดยใช้ไลน์แดนซ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ดังนี้
จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายโดยใช้ไลน์แดนซ์ โดยจะออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน/อาทิตย์ ในช่วงเวลา 17.30 - 18.30 น. ณ สวนภูมินทร์ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าจัดซื้อเครื่องเสียง 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีการออกกำลังกายทุกวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะอ้วนลงพุงและผู้ที่มีดรรชนีมวลกายเกินมาตรฐานมีจำนวนลดลงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารไปในทางที่ดีขึ้น


>