2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยที่ผ่านการคัดกรองในปีงบประมาณ 2563 พบว่า องค์ประกอบด้านความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ องค์ประกอบด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ องค์ประกอบด้านการสื่อสารสุขภาพ อยู่ในระดับไม่ดี องค์ประกอบด้านการจัดการตนเอง อยู่ในระดับพอใช้ องค์ประกอบด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ อยู่ในระดับพอใช้ องค์ประกอบด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับดีมาก และพฤติกรรมสุขภาพตาม ๓อ.๒ส.อยู่ในระดับพอใช้
จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2564ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน พบว่า จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,161 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงฯ 1,083 คน คิดเป็นร้อยละ 93.28 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 252 คน คิดเป็นร้อยละ 23.26 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 8.59 และ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 337 คน คิดเป็นร้อยละ 31.11 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 10.34
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการโครงการค่ายต้นแบบ ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยให้เกิดการวิเคราะห์ตัวเอง หาจุดดี จุดด้อย พร้อมปรับเปลี่ยนแก้ไข ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2021
กำหนดเสร็จ 30/09/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มปกติ
2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน
3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง