กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี

1. นายนัฐพงค์ หมีนหวัง ผู้ประสานงานคนที่ 1

2. นางสาวทิตยา เกตุชาติ ผู้ประสานงานคนที่ 2

3. นางสาวยุภาพร โสะเต่ง

4. นายอาซีซัน ท่าหิรัญ

5. นางสาวมารียา มัจฉา

ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลภาวะโภชนาการ ในปีการศึกษา 2563 นักเรียนโรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จำนวน 26 คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 ซึ่งปัญหาภาวะทุพโภชนาการนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์จิตใจและสังคมตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

นอกจากปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กแล้ว ยังพบปัญหาที่สำคัญอีกประการ คือปัญหาการจัดการขยะ เนื่องจากสภาพแวดล้อมของชุมชนและโรงเรียนนั้นติดกับป่าชายเลน จึงมีขยะจำพวกถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ขวดแก้ว เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงใบไม้ และขยะเปียกตามครัวเรือน ซึ่งยังไม่มีวิธีการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมตามมา ซึ่งปัญหาของสภาพแวดล้อมนั้นก็จะส่งผลกับสุขภาพของนักเรียนและทุกคนในชุมชนโดยตรง

โรงเรียนเพียงหลวง๔ ฯ ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง รู้จักดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและในบริเวณชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง นอกจากนี้นักเรียนยังได้รู้จักการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)ส่งเสริมสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

  2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการมีจำนวนลดลง

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ และความเข้าใจในการคัดแยกขยะรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขอนามัยที่ดี
  1. ร้อยละ 90 ของครู  ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะแต่ละประเภท

  2. ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
  1. ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

  2. ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

1.ร้อยละ 90 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวัง

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.1กิจกรรมย่อยเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

เป้าหมาย

1.1.1เด็กนักเรียน จำนวน 27 คน

รายละเอียดกิจกรรม

1.1.2 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 3-12 ปี

1.1.3 บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็กพร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

1.1.4 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

งบประมาณ

  1. ค่าถ่ายเอกสารสมุดบันทึกการตรวจ สุขภาพด้วยตนเอง จำนวน 27 ชุดชุดละ 20 บาท เป็นเงิน540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 3-12 ปี ที่มีภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
540.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมย่อย ติดตามเด็กที่ปัญหาภาวะโภชนาการ

เป้าหมาย

  -เด็กที่มีทุพภาวะชาการ  จำนวน 10 คน

รายละเอียดกิจกรรม

2.1.1 เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน2-3 ครั้ง

2.1.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

งบประมาณ

  1. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่องเครื่องละ 680 บาทเป็นเงิน 680 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามและผลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
680.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1  กิจกรรมย่อย ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกายและเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

เป้าหมาย

  -นักเรียน  จำนวน  27  คน

รายละเอียดกิจกรรม

3.1.1 จัดกิจกรรมการออกกำลังกายในตอนบ่ายประมาณ 20 นาที

  3.1.2 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการออกกำลังกายและสร้างเสริมพัฒนาการโดยการนำการละเล่นเข้ามามีส่วนร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะแก่ครู ผู้ปกครองและนักเรียน

เป้าหมาย

-ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน

-ผู้ปกครองจำนวน 21 คน

-เด็กนักเรียน จำนวน 27 คน

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 55 คน คนละ20 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,100 บาท

  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

รวมเป็นเงิน 2,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 5 การจัดซื้ออุปกรณ์แยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
การจัดซื้ออุปกรณ์แยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 กิจกรรมย่อย จัดหาอุปกรณ์รองรับขยะที่เพียงพอเพื่อให้นักเรียนเก็บขยะในทุก ๆ วัน

งบประมาณ

  1. ค่าอุปกรณ์รองรับรับขยะ1,780 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อุปกรณ์ในการจัดการขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1780.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

เป้าหมาย

-นักเรียน จำนวน 27 คน

-ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน

-ผู้ปกครอง  จำนวน 21 คน

งบประมาณ

  1. ค่าแอลกอฮอล์ ขนาด 300 ml จำนวน 2 ขวด ขวดละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท

  2. ค่าเครื่องวัดไข้  จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1,500 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท

   รวมเป็นเงิน  1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มี่การตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 7 รายงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

งบประมาณ

  1. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มรายงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามเป้าหมาย
2. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
3. นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ
4. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)


>