กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุโบย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุโบย

1.นายอารมณ์ หลังแดง ประธานศูนย์ฯ

2.นางสาวดาราหนี หวันเต๊ะ ตัวแทนผู้ปกครอง

3. นางยุวดี จิตรหลัง ครู

4. นางสาวสุทธิดา สูนสละ ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

5. นางสาวสุนิสา ง๊ะสมันผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กในกลุ่มอายุระหว่าง 2-6ปี เป็นวัยที่มักจะมีปัญหาสุขภาพและโรคติดต่อซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียนและเด็กจะมีปัญหาในระยะยาวต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านซึ่งประกอบด้วย ด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจสังคม และสติปัญญา หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง โดยเฉพาะสุขภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าเด็กมีสุขภาพดี จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วัยอายุระหว่าง 2-6ปี ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2546ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ตามศักยภาพของเด็กโดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้ มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจสามารถครองชีวิตอย่างเป็นสุข ในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะการที่เด็กมีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นสิทธิขั้นต้นของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ และเป็นหน้าที่ของคนทุกคนจะต้องแสวงหา สร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุโบยซึ่งเห็นความสำคัญ ในเรื่องนี้มาโดยตลอดจึงร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงโดยจัดให้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อในเด็กขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆและป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย และส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อรักษาเป็นลำดับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุโบยมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย

เด็กร้อยละ90 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุโบยมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงตามวัย

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนในขณะที่เด็กอยู่ที่บ้าน

ผู้ปกครองร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลป้องกันโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน

ผู้ปกครอง ครู ร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลป้องกันโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ประกอบอาหาร จำนวน 35 คน

  1. ค่าวิทยากรในพื้นที่ (บรรยาย)จำนวน 1.5 ชั่วโมง×300บาท เป็นเงิน 450 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 35 คน×70บาท×1มื้อ เป็นเงิน 2,450 บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 35 คน×20บาท×2มื้อ เป็นเงิน 1,400 บาท

  4. ค่าจัดทำเอกสาร//แผ่นพับ จำนวน 35 ชุด ×5 บาทเป็นเงิน 175บาท

5.ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1ผืน ขนาด 1.5×3 เมตร×120 บาท เป็นเงิน 540 บาท

รวมเงิน5,015บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง/ผู้ประกอบอาหารได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโภชนาการที่ถูกต้องในวัยเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5015.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาสื่อเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเด็ก

  1. สบู่เหลวล้างมือ จำนวน 4 ขวดๆละ 160บาทเป็นเงิน 640 บาท

  2. ผ้าขนหนูมือเช็ดมือ30 ผืนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท

  3. ทิชชู 3 โหลๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 360 บาท

  4. กระป๋องน้ำ 30 อันๆละ 69 บาท เป็นเงิน 2,070 บาท

  5. น้ำยาฆ่าเชื้อขวดละ 190 บาท 4 ขวด เป็นเงิน 760 บาท

รวมเงิน 4,730บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับสุขภาพให้แก่เด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4730.00

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เป้าหมาย :จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ จำนวน 2 เล่ม

รายละเอียดกิจกรรม

3.1.1 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 1 ครั้ง

3.1.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย2 เล่ม

งบประมาณ

  1. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่มๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มรายงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,245.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครู มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเผ้าระวังดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัย 2-6 ปี

2.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ปกครอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในด้านการดูแลและป้องกันปัญหาด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัย


>