กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สุขกาย สุขใจ ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

ชมรมผู้สูงอายุตำบลกายูคละ

1.นายอนันต์ สีแดง
2.นายไฟเดร์ เจ๊ะอามิ
3.นายอาแว เจ๊ะบือซา
4.นางอ้อน สุขแดงพรหม
5.นายเจ๊ะอามิ เจ๊ะหลง

หมู่1-9 ในเขตตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากปัจจัยการลดลงของอัตราเกิดและอายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่ยืนยาวขึ้นขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีอายุยืนยาวขึ้นอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันสูงกว่าของประชากรโดยรวมขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุวัยปลายก็สูงกว่าอัตราการเพิ่มของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นมีผลให้จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายปัญหาการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้าแม้จะ มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแต่สภาพจิตใจยังคงเป็นปกติเหมือนเดิมมีความรู้สึกและมีความสามารถทำหน้าที่การงานได้อย่างปกติและตระหนักดีว่ายังไม่แก่จนทำอะไรไม่ได้หรือยอมรับความบกพร่องของร่างกายและปัญหาสุขภาพการเกิดโรคและการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ จนไม่สามารถช่วยตนเองได้ต้องพึ่งพิงครอบครัว ญาติ ชุมชนและสังคมผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจาก การเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือมีอาการสมองเสื่อมทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและ มีความสุขในปั้นปลายของชีวิตประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายในเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัวรวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอาย ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส พบว่าในปี 25๖2 มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 800 กว่าคน
ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลกายูคละ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สุขกาย สุขใจ ชีวีมีสุขในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ ประจำปี 2563 ขึ้นทั้งนี้ร่วมกันส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อจะได้วางแผนดูแลตามสภาพปัญหาที่พบให้มีความยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง ทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสุขภาพร่างการและจิตใจ

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง ทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสุขภาพร่างการและจิตใจร้อยละ 60

200.00 1.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้ การดูแลตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง

ผู้สูงอายุมีกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้ การดูแลตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงร้อยละ 80

200.00 1.00
3 3.เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมร่วมกัน

ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันร้อยละ 80

200.00 1.00
4 4.เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร้อยละ 60

200.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน จำนวน 2 รุ่นๆละ 100 คน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน จำนวน 2 รุ่นๆละ 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร (12ชม.×600บ.)= 7,200 บ. 2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
(200คน×70บ.×1มื้อ)= 14,000 บ. 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
(200คน×25บ.×2มื้อ)= 10,000 บ. 4.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม (กระเป๋าผ้า สมุด ปากกา) (200คน×100บ.) = 20,000 บ. 5.ค่าป้ายไวนิล จำนวน1ผืน = 1,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52200.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมส่งเสริมการบริหารแขน ไหล่ไม่ติด

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมส่งเสริมการบริหารแขน ไหล่ไม่ติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง ทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
2.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมด้านสุขภาพร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้การดูแลตนเอง ทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง
3.ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มและทำกิจกรรมร่วมกัน


>