กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพนักเรียน บุคลากรโรงเรียนบ้านกาเนะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงเรียนบ้านกาเนะ

1. นางอรุนา ตาเดอิน โทร 089-9784223ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาเนะ
2. นางชุมาพร หาโส๊ะ โทร 081-6084886ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ
3. นางบุญตา ยากะจิโทร 086-2786902ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ
4. นางผ่องศรีเดชานนท์โทร 089-2973778ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ
5. นางนารีส๊ะ โสสนุ้ย โทร 086-2980866 ตำแหน่ง ครโรงเรียนบ้านกาเนะ

โรงเรียนบ้านกาเนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครู บุคลากรและนักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่ต้องมีการป้องกันไม่ให้เป็นโรค COVID 19

 

149.00
2 จำนวนนักเรียนหญิงชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่เป็นเหา

 

55.00
3 จำนวนนักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค COVID 19โรคไข้หวัดโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก

 

135.00
4 จำนวนนักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่ต้องดูแลสุขภาพฟัน

 

135.00

สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีความสามารถในการเรียนรู้การทำงานการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเจริญมาสู่ตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีโรค COVID 19 ระบาดปัญหาการเป็นเหาของนักเรียนหญิงที่ยังกำจัดไม่หมดจากการตรวจฟันของเจ้าหน้าที่รพ.สตูล ยังพบนักเรียนที่มีฟันแท้ผุ การดูแลสุขภาพฟันภาวะโภชนาการของนักเรียนทางโรงเรียนบ้านกาเนะจึงจัดโครงการดูแลสุขภาพนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านกาเนะ เนื่องจากงบประมาณที่ได้มาจาก สพฐ.ต้องนำมาใช้จ่ายในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การดูแลสุขภาพนักเรียนได้งบไม่พอ จึงต้องของบประมาณจากกองทุนส่งเสริมสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนมาสนับสนุนในดูแลสุขภาพนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านกาเนะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู บุคลากรและนักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ได้มีสบู่เหลวล้างมือในการป้องกันไม่ให้เป็นโรค COVID 19

ครู บุคลากรและนักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 มีสบู่เหลวล้างมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรค COVID 19 ได้ ร้อยละ 100

149.00 149.00
2 เพื่อให้นักเรียนหญิงชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่เป็นเหาปฏิบัติตนในการกำจัดเหาและป้องกันตนเองไม่ให้เป็นเหา

นักเรียนหญิงชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่เป็นเหาปฏิบัติตนในการกำจัดเหาและป้องกันตนเองไม่ให้เป็นเหา ได้ ร้อยละ 80.00

55.00 55.00
3 เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคCOVID 19 โรคไข้หวัดโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ได้ถูกต้อง

นักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคCOVID 19โรคไข้หวัดโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ได้ถูกต้องร้อยละ 90

135.00 135.00
4 เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่มีสุขภาพฟันที่ดีฟันไมผุ

นักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่มีสุขภาพฟันที่ดีฟันไมผุร้อยละ 90

135.00 135.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 115
กลุ่มวัยทำงาน 14
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การทำสบู่เหลวล้างมือ

ชื่อกิจกรรม
การทำสบู่เหลวล้างมือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การทำสบู่เหลวล้างมือ 1.วัสดุและอุปกรณ์
1.1ชุดทำสบู่เหลวล้างมือชุดละ 300 บาท (หัวสบู่เหลว 1 กก.,เกลือผง 100 กรัม,น้ำหอม 10ซีซี,สารกันเสีย 10 ซีซี,น้ำสะอาด 2 กิโลกรัม, สีผสมอาหาร 0.1 กรัม) จำนวน 8 ชุด เป็นเงิน 2,400 บาท
1.2ขวดพลาสติกบรรจุสบู่เหลวขวดละ 20 บาท จำนวน 15 ขวด เป็นเงิน 300 บาท 2. ดำเนินการทำสบู่เหลวล้างมือ 1.1 ต้มน้ำสะอาดให้ร้อน ใส่ส่วนผสมใน 1 ชุดลงในน้ำต้ม คนให้ส่วนผสมละลายจนเข้ากันพอเดือดยกลง 1.2 ตั้งให้เย็นกรอกลงในขวดเตรียมนำไปใช้ 3. บรรจุสบู่เหลวลงในขวด

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2564 ถึง 3 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนสบู่เหลว 20 ลิตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 2 กำจัดเหา

ชื่อกิจกรรม
กำจัดเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมเชิงปฏิบัติการการกำจัดเหา
    1.1 ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 200 บาท
    1.2 อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวนนักเรียน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,375 บาท
    1.3 แชมพูกำจัดเหา จำนวน 55 หลอดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
    กำหนดการอบรมการกำจัดเหาวันที่ 4 มิถุนายน 2564
    13.00 - 13.10 น. นักเรียนรายงานตัวเข้าห้องประชุม
    13.10 - 13.30 น. แจ้งวัตถุประสงค์การอบรม
    13.30 - 14.30 น.บรรยายเรื่องเหาและโทษที่เกิดจากเหา
    14.30 - 14.45 น.รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    14.45 - 16.00 น.ขั้นตอนการกำจัดเหา ปฏิบัติการการกำจัดเหา
  2. นักเรียนปฏิบัติการกำจัดเหาทุกวันศุกร์
  3. ประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนหญิงชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่เป็นเป็นเหาปฏิบัติตนในการกำจัดเหาและป้องกันตนเองไม่ให้เป็นเหาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4325.00

กิจกรรมที่ 3 การดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพ
1.1 อาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวนนักเรียน 135 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,375 บาท
1.2 ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 200 บาท
1.3 อุปกรณ์ป้องกันตนเองเช่น หน้ากากผ้า จำนวน 135 อันๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
1.4 อุปกรณ์สาธิตการแปรงสีฟันอย่างถูกวิธี คือ - แปรงสีฟัน จำนวน 135 อันๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,375 บาท - ยาสีฟัน จำนวน 135 หลอดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,375 บาท
กำหนดการอบรมการดูแลสุขภาพ วันที่ 1 มิถุนายน 2564
เวลากิจกรรม
13.00 - 13.10 น. นักเรียนรายงานตัวเข้าห้องประชุม
13.10 - 13.30 น. พิธีเปิดการอบรม
13.30 - 14.30 น. บรรยายเรื่องโรคติดต่อและการป้องกัน
14.30 - 14.45 น.รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
14.45 - 16.00 น.ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี ปฏิบัติการแปรงฟัน
2.การตรวจสุขภาพนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อ และปฏิบัติตนไม่ให้ติดโรคติดต่อต่างๆได้ 2.นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง 3.นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง ร่างกายสะอาดไม่เป็นโรคติดต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13025.00

กิจกรรมที่ 4 การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

ชื่อกิจกรรม
การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันเวลา 12.15 น.
1. นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการแปรงฟัน ได้แก่แปรงสีฟันยาสีฟันขวดน้ำ
2. นักเรียนแต่ละชั้นพร้อมกันที่บริเวณแปรงฟันของแต่ละชั้นที่จัดให้ เมื่อได้ยินเสียงเพลงแปรงฟัน
3. นักเรียนแปรงฟันพร้อมกัน
4. ครูเวรประจำวันการแปรงฟันของนักเรียน
5. ครูประจำชั้นตรวจฟันนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีฟันที่สะอาดไม่เป็นโรคฟันผุ
2.นักเรียนมีความรับผิดชอบมีระเบียบวินัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,050.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู บุคลากรและนักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 มีสบู่เหลวล้างมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรค COVID 19 ได้ ร้อยละ 100
2. นักเรียนหญิงชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่เป็นเฏิบัติตนในการกำจัดเหาและป้องกันตนเองไม่ให้เป็นเหา ร้อยละ 80
3. นักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคCOVID 19โรคไข้หวัดโรคไข้เลือดออก และโรคมือเท้าปาก ได้ถูกต้องร้อยละ 90
4. นักเรียนชั้นอนุบาล 2- ป.6 ที่มีสุขภาพฟันที่ดีฟันไมผุร้อยละ 90


>