กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

เทศบาลตำบลหารเทา

หมู่ที่1 - 11ตำบลหารเทาอำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค นับวันจะมีความรุนแรงและมีอัตราป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในพื้นที่ตำบลหารเทา ซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดที่อันตราย ในอดีตโรคไข้เลือดออกมักจะเป็นเฉพาะในกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบได้ทุกกลุ่มอายุและเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขระดับประเทศเนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับซึ่งโรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญและมักจะระบาดในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่ในปัจจุบันระบาดได้ในทุกเดือน ของทุกปี ในพื้นที่ตำบลโคกหล่อ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เป็นจำนวนมาก หากไม่มีการดำเนินการควบคุมและป้องกันที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จะทำให้อัตราการแพร่ระบาดของโรคจะกระจายไปเป็นจำนวนมากยากแก่การควบคุม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตั้งแต่ ประชาชนผู้นำชุมชน กลุ่มอสม. กลุ่มสตรีกลุ่มประธานชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย โดยการควบคุมทางกายภาพ เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการควบคุมทางเคมี เช่น การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น
เทศบาลตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน

อัตรการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง  20 %

0.00
2 เพื่อจำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับในบ้านและบริเวณบ้าน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,145
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 28/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทรายอะเบท จำนวน  15  ถัง ๆ ละ  5,200  บาท  เป็นเงิน  78,000  บาท
  • ค่าน้ำยาพ่นหมอกควัน  จำนวน  15  ขวดๆ ละ 1,600  บาท  เป็นเงิน 24,000  บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับพ่นหมอกควัน  เป็นเงิน 10,000  บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 100 ขวด ๆ ละ 49 บาท เป้นเงิน 4,900 บาท -ค่าสเปรย์ไล่ยุง จำนวน 100 ขวดๆละ 65 บาท เป็นเงิน 6,500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
123400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 123,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
2. ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง


>