กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตารีกีปัส มรดกภูมิปัญญา พัฒนาสุขภาพ โรงเรียนเทศบาล 3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)

1. นางสาวจันทร์เพ็ญจริงจิตรตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โทร.099-2894197
2. นางอมรรัตน์ศรีจันทร์ ตำแหน่ง ครู โทร.063-1944695
3. นางสาวสารินียูโซะ ตำแหน่ง บุคลากรสนับสนุนการสอน โทร.086-2927837

โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครูและนักเรียนที่ออกกำลังกายทุกวัน

 

20.00
2 ร้อยละของครูและนักเรียนที่มีสุขภาพแข็งแรงตามวัย

 

50.00
3 ร้อยละของครูและนักเรียนที่เป็นแกนนำด้านการพัฒนาสุขภาพได้

 

20.00

“ตารีกีปัส” เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น แต่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนาฏศิลป์พื้นเมืองเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะกระแสความนิยมในการเต้นที่ประกอบด้วยท่าทางหลายรูปแบบและเพิ่มความสนุกด้วยเสียงดนตรีที่หลากหลาย เข้ามามีบทบาทกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น นาฏศิลป์พื้นเมืองจึงได้รับความสนใจจากกลุ่มคนที่ให้ความสนใจเพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริง นาฏศิลป์พื้นเมืองไม่ได้มีเพียงแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่เราสามารถนำมาพัฒนาสุขภาพได้ เพราะการเรียนนาฏศิลป์จะต้องมีการฝึกท่าทางและสรีระร่างกายในรูปแบบต่างๆโดยความสวยงาม อ่อนช้อยในการแสดงจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายแขนขาของผู้ที่ร่ายรำ
ดังนั้น โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) จึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมและสนับสนุนนาฏศิลป์พื้นเมือง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของภาคใต้ให้ดำรงอยู่และส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไปพร้อมกัน ด้วยการจัดทำโครงการ“ตารีกีปัส มรดกภูมิปัญญา พัฒนาสุขภาพ” ขึ้น เพื่อให้ครูและนักเรียนทราบถึงวิธีการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองอย่างถูกวิธี และมีทักษะในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีสุขภาพที่ดีและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และเพื่อให้ครูและนักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติหน้าที่แกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูและนักเรียนทราบถึงวิธีการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองอย่างถูกวิธี และมีทักษะในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองที่ถูกต้อง

ร้อยละของครูและนักเรียนที่มีสุขภาพแข็งแรงตามวัย

50.00 100.00
2 ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนมีสุขภาพดีและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ร้อยละของครูและนักเรียนที่ออกกำลังกายทุกวัน

20.00 100.00
3 เพื่อให้ครูและนักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติหน้าที่แกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

ร้อยละของครูและนักเรียนที่เป็นแกนนำด้านการพัฒนาสุขภาพได้

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2021

กำหนดเสร็จ 15/01/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รู้จักนาฏศิลป์พื้นเมือง "ตารีกีปัส"

ชื่อกิจกรรม
รู้จักนาฏศิลป์พื้นเมือง "ตารีกีปัส"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนที่เป็นตัวแทนของสายชั้น (ครู 5 คน/นักเรียน 20 คน ต่อ 1 สายชั้น) รวม 230 คน เกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมา ท่าทางการรำ ฯลฯ โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 6 ชั่วโมง (3 วัน)
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน รวม 3 รุ่น รุ่นละ 6 ชั่วโมง(รวม 18 ชั่วโมง) คนละ 600 บาท ต่อชั่วโมง เป็นเงิน 21,600 บาท
2. ค่าเดินทางวิทยากร (รถตู้หาดใหญ่-สุไหงโกลก) เที่ยวไป-กลับ คนละ 400 บาท จำนวน 2 คนเป็นเงิน 800 บาท
3. ค่าเช่าที่พักวิทยากร จำนวน 1 ห้อง ห้องละ 520 บาท 4 คืน เป็นเงิน 2,080 บาท
4. ค่าจัดทำป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2564 ถึง 15 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครูและนักเรียนทราบถึงวิธีการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองอย่างถูกวิธี และมีทักษะในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองที่ถูกต้อง
  2. ครูและนักเรียนมีสุขภาพที่ดีและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25680.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างแกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมือง

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมือง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูและนักเรียนที่เป็นตัวแทนของสายชั้น ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถปฏิบัติหน้าที่แกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ค่าใช้จ่าย
1. ค่าพัดปลายผ้า จำนวน 80 คู่ คู่ละ 180 บาทเป็นเงิน14,400บาท
2. อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 230 คน เป็นเงิน 11,500 บาท
3. ค่าจัดทำป้ายนิทรรศการเกี่ยวกับท่าประกอบตารีกีปัส เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2564 ถึง 15 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและนักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติหน้าที่แกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูและนักเรียนทราบถึงวิธีการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองอย่างถูกวิธี และมีทักษะในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองที่ถูกต้อง
2. ครูและนักเรียนมีสุขภาพที่ดีและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
3. ครูและนักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติหน้าที่แกนนำในการพัฒนาสุขภาพด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ


>