กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านทะเลเหมียง ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านทะเลเหมียง ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทะเลเหมียง

หมู่ที่ 5,7,9 และหมู่ที่ 10 ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ด้วยการเรียนรู้เรื่องโรคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวผู้ป่วย ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์ และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรพบว่าภาพรวมของประเทศ ประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้น ใน13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคนและมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อนึ่งจากการสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนโดยการตรวจร่างกาย พ.ศ. 2559-2561 พบว่าผู้สงสัยว่าเป็นโรความดันโลหิตสูง 2 ใน 3 อยู่ในวัยทำงาน(อายุ 15-59 ปี) และเกินครึ่งหนึ่งจะไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรค เนื่องจากไม่มีอาการแสดงให้ทราบ
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทะเลเหมียง มีจำนวนผู้ป่วย ด้วยโรคความดันโลหิตสูง229 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 8,638.24 ต่อแสนประชากรและผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน164 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 6,186.34 ต่อแสนประชากรและปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 12.80 ทางตา ร้อยละ 6.09 ทางเท้า ร้อยละ 1.21 ขณะที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 19.21 ทางหัวใจ ร้อยละ 22.9 และทางสมอง ร้อยละ 10.04และ ทางตา ร้อยละ 6.8 และในปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ7.25 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น หากไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไข อย่างเร่งด่วนซึ่งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมักไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าอาการดีแล้ว หรือหายจากโรคแล้วและผู้ป่วยอาจไม่ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคที่ถูกต้อง ประกอบกับแพทย์/พยาบาล ตรวจวัดความดันโลหิต/ระดับน้ำตาลในเลือด และผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับปกติแล้ว ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตนเองมีสุขภาพดี หรือหายจากโรค จึงขาดการติดตาม การรักษาที่ต่อเนื่อง หยุดการรักษา หยุดรับประทานยา และมาพบแพทย์อีกครั้งเมื่อมีอาการหรือโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่เรื้อรัง ส่งผลถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ของครอบครัว และสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยดูแลตั้งแต่ประชาชนที่ยังไม่เป็นโรค ดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้ว โดยอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชนในพื้นที่ อสม. ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชน ผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ได้เกิดการเรียนรู้ มีความตระหนัก และมีประสบการณ์โดยตรงในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัญหาของชุมชนของตนเองและร่วมพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมกับพื้นที่
ดังนั้น เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่แฝงอยู่ในชุมชน และเป็นการป้องกันและลดปัญหาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทะเลเหมียง ได้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะ 2 โรคดังกล่าว จึงให้มีการดำเนินงาน“เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน” เพื่อให้เกิดโครงการที่ยั่งยืนและลดอัตราป่วยและภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งจะยังผลให้มีระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่สูงขึ้นอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ ข้อที่ 3 เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลต่อเนื่อง มากกว่าร้อยละ 90
  • ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  • ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40 -  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงจากปีที่ผ่าน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูล ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ในพื้นที่ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูล ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ในพื้นที่ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ความรู้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
ความรู้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการเยี่ยมติดตาม เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย แก่จิตอาสาดูแลผู้ป่วยในชุมชน ทุกหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการเยี่ยมติดตาม เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย แก่จิตอาสาดูแลผู้ป่วยในชุมชน ทุกหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าจัดซื้อสายวัดรอบเอว BMI แบบพกพา จำนวน 12 เครื่องๆ 90 บาทเป็นเงิน1,080บาท
-ค่าจัดซื้อ เซ็ต และอุปกรณ์ทำแผลที่บ้าน จำนวน 20 ชุดๆ 700 บาทเป็นเงิน 14,000 บาท
-เตียงสำหรับผู้ป่วย จำนวน 1 ตัวๆละ 36,000 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
-เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำนวน 1 เครื่องๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
-กระเป๋าพยาบาล จำนวน 4 ใบๆละ 590 บาท เป็นเงิน 2,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56940.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมติดตาม เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมติดตาม เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งต่อผู้ป่วยที่ควบคุมระดับเบาหวาน และความดันไม่ได้ ตามระบบการส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้ป่วยที่ควบคุมระดับเบาหวาน และความดันไม่ได้ ตามระบบการส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,940.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ จำนวน 61,940 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่จะนำไปสู่ความพิการได้ สามารถประกอบอาชีพ และสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามอัตภาพ
2. อัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
3. หน่วยบริการมีการพัฒนาคุณภาพบริการ (NCD. คุณภาพ) ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน


>