2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
วัดเป็นที่สาธารณะที่มีความสำคัญของชุมชนชาวพุทธมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อนวัดเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชนเป็นสถานศึกษาของชุมชนโดยมีพระภิกษุเป็นผู้ให้ความรู้ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ทางด้านธรรมะ อันจะทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติหลุดพ้นจากความทุกข์ทางจิตใจ ในเวลาต่อมาวัดเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นจุดศูนย์กลางทางด้านการศึกษาธรรมะของชุมชนมาเป็นมาเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนด้านอื่นๆด้วย หรือ บางวัดก็มีบทบาทเป็นศูนย์อำนวยสะดวกของชุมชนไปเลยก็มี เช่น เป็นสถานที่นัดพบนัดประชุมของส่วนราชการต่างๆ หรือ องค์ กลุ่มต่างๆ ที่ต้องจัดกิจกรรมกับประชาชนในชุมชน เป็นสถานที่จัดงานเนื่องในเทศกาลต่างๆ งานเลี้ยงงานบุญประเพณีต่างๆ เช่น งานบวช งานบำเพ็ญบุญและฌาปนกิจศพ งานกิจศพ งานบุญกฐิน งานบุญผ้าป่า เป็นต้น วัดยังคงเป็นสถานที่ชาวพุทธมาพบกันเป็นกลุ่มเพื่อทำบุญ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นพ้องต้องกันในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยใช้วัดเป็นจุดศูนย์กลางตามแนวคิดวัดส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งหมายถึงวัดที่มีการบริหารจัดการวัดให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ของบุคลากรของวัด ประชาชน และชุมชน โดยวัดส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีคุณสมบัติ ของวัดส่งเสริม "๕ ร." ดังนี้
๑.ร่มรื่น คือ สะอาดด้วยอาคารสถานที่ บริเวณวัด ให้ถูกหลักสุขภาพอนามัย
๒.ร่มเย็น คือ ความสงบด้วยการเทศนา แสดงธรรม โดยสอดแทรกด้านการดูแลสุขภาพ
๓.ร่วมสร้างสุขภาพ คือ ด้วยการดูแลสุขภาพของบุคลากรในวัด และประชาชนทั่วไป
๔.ร่วมจิต คือ ด้วยการดำรงรักษา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญาท้องถิ่น
๕.การมีส่วนร่วมของชุมชน คือการร่วมมือกันพัฒนาแบบบูรณาการจากภาคีเครือข่ายทั้งภายนอกและภายในชุมชน
วัดห้วยเรือตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท เจ้าอาวาสวัดห้วยเรือดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหารเทาด้วยมีพื้นที่บริการทางศาสนาหรือศาสนอาณาเขตในชุนชนที่มีประชาชนมาร่วมใช้ในกิจการศาสนกิจต่างๆค่อนข้างจะกว้างขวาง โดยมีพื้นที่หมู้ที่ ๔ ตำบลหารเทา เป็นหลัก และมีประชาชนจาก พื้นที่ใกล้เคียงทั้งที่เป็นประชาชนจากหมูบ้านอื่นๆตำบลหารเทา และบางหมู่บ้านในอำเภอป่าบอนจังหวัดพัทลุงมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาวัดห้วยเรือให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เหนือกว่าระดับพื้นฐานและคงสถาพอย่างถาวรจึงเป็นการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคควบคู่กันไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/11/2020
กำหนดเสร็จ 20/09/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑.วัดห้วยเรือมีการพัฒนาตามแนวคิดวัดส่งเสริมสุขภาพในด้าน
-โครงสร้างและอาคารสถานที่
-ด้านน้ำดื่ม น้ำใช้
-ด้านสถานที่ปรุงอาหารของพระสงฆ์ และประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมทางศาสนา
-ด้านการกำจัดสิ่งขับถ่าย คือ ห้องน้ำ/ห้องส้วม
-ด้านการขยะ และการจัดการขยะ
-ด้านการจัดการน้ำเสีย
-ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
-ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
๒.มีภาคีเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนา ครัวเรือนต้นแบบในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
๓.มีนวตกรรมและสิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนเกิดขึ้นจากการพัฒนาตามแนวคิดฯ
๔.เกิดแหล่งเรียนรู้ทางสุขภาพและการพัฒนาในชุมชนตามแนวคิดโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ