กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้โรคเรื้อรังที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3

 

17.30
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตวายและเข้าสู่ระบบการฟอกไต

 

3.00

จากสถานการณ์โรคไตของประเทศไทย ในปี 2562 สมาคมโรคไตคาดการณ์ว่าขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน รอการผ่าตัดไตใหม่ประมาณ 40,000 คน ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเพียงปีละ 400 รายเท่านั้น มีผู้เสียชีวิตจากไตวาย ปีละ 13,000 กว่าคน ซึ่ง 1 ใน 3 ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องมีการใช้งบประมาณถึง 3 พันล้านบาท ปัจจุบันภาครัฐให้สิทธิประชาชนทุกคนในการฟอกไตผ่านช่องท้องฟรี นอกจากนี้เมื่อป่วยทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เสี่ยงการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวในปีงบประมาณ 2563
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 399 คน(HDC,2563) จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อม ระยะ 1-5 จำนวน 289 คน และเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 17.30 พบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี และผู้ป่วยจำนวนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องฟอกไตในอนาคตถ้ายังไม่ได้รับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคไต จำเป็นต้องชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ โดยเฉพาะระยะที่ 3 ต้องชะลอไม่ให้กลายเป็นระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 จากสถานการณ์โรคไตของผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพการชะลอภาวะไตวายผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงปี 2564 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ชะลอภาวะไตเสื่อมและป้องกันไม่ให้ไตวายอันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต

ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต ร้อยละ80

70.00 80.00
2 เพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5

ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5 ไม่น้อยร้อยละ 10

5.00 10.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

7.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยโรคไตระยะ3 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/10/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง (ไตระยะ 3)

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง (ไตระยะ 3)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 3 ชั่วโมง ฯ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 1 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 2 ย่องครัว ส่องเกลือ ส่องเค็ม

ชื่อกิจกรรม
ย่องครัว ส่องเกลือ ส่องเค็ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เจ้าหน้าที่และ อสม.เยี่ยมบ้านผู้ป่วย โดยไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ได้รับการเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินภาวะไตและส่งต่อ (กรณีภาวะไต กลายเป็น ระยะที่ 4 หรือ ระยะที่5)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินภาวะไตและส่งต่อ (กรณีภาวะไต กลายเป็น ระยะที่ 4 หรือ ระยะที่5)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,250 บาท
  • การตรวจเลือดตามแผนประจำปีของโรงพยาบาลแม่ข่าย (ไม่ใช้งบประมาณ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ระยะที่ 3 ทุกคนมีความรู้การชะลอไต ไม่น้อยกว่าร้อยละ80
- ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจาก ระยะ 3 ไปเป็น ไตเสื่อม ระยะ 4 หรือ ระยะ 5 ไม่น้อยร้อยละ 10
- ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะ 3 กลายเป็น ระยะ 4 หรือ 5 ทุกคนได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย


>