กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเชิงรุก รพ.สต.บ้านทะเลเหมียง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทะเลเหมียง

หมู่ที่ 5,7,9,10 ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็ง เป็นปัญหาทุกประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน การควบคุมโรคมะเร็งมีเป้าหมาย เพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดความทุกข์ทรมานและการตายจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ประมาณร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดในโลก จะมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๒๓๑,๐๐๐ รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ ๘๐ จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเนื่องจากยังไม่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรอง(Screening program) ที่มีประสิทธิผลดีพอในการตรวจหารอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง(Pre – cancerous lesions)และให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นระยะลุกลาม(Invasive cancer) ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ ๖,๓๐๐ ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ ๔๕-๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด ๕ ประมาณร้อยละ ๖๐ จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนานมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ๒๕๕๐) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)ปีงบประมาณ2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60 ปี กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ 2563- 2567 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ในปี 2558-5562รพ.สต.บ้านทะเลเหมียงได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม 5ปี เป้าหมาย 710 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง666 คนคิดเป็นร้อยละ 93.80 ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด พบผลผิดปกติ 4 รายแต่เมื่อส่งไปตรวจซ้ำ รพ.พัทลุง ผลปกติ ในปี 2563 มีเป้าหมาย 553 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 336 คน คิดเป็นร้อยละ 60.76 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด และจะดำเนินการต่อในปี 2564 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1.เพื่อเฝ้าระวังและค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านมในระยะเริ่มแรก

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 30 (เป้าหมาย 236 คน)มะเร็งเต้านม ร้อยละ 90 (เป้าหมาย 719 คน)

0.00
2 ข้อที่2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

1.กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่จะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่จะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (ไม่มีงบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
2.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอุปกรณ์ในการดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก - Set papsmear จำนวน 40 ชุด ประกอบด้วย 1. Speculum size S ชิ้นละ 690 บาท จำนวน 20 อัน เป็นเงิน 13,800 บาท 2. Speculum size M ชิ้นละ 790 บาท จำนวน 20 อัน เป็นเงิน 15,800บาท 3. ขันสแตนเลสใส่เครื่องมือ ขนาด 16 ซม. จำนวน 40 ใบๆละ 150 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
4. Forcep จำนวน 40 คู่ๆละ 500 บาท เป็นเงิน
20,000 บาท 5. ผ้าห่อเซต จำนวน 40 ผืนๆละ 100 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท 6. Sponse forceps ขนาด 25 cms 2 อันๆละ 650 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท - ค่าผ้าถุงในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากสถานบริการไม่มีผ้าให้ผู้ป่วยใช้ในการตรวจเพื่อป้องกันการติดเชื้อจาก จากใช้ร่วมกันได้ จำนวน 40 ผืนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60900.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตามความครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายที่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากสถานบริการอื่น

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามความครอบคลุมในกลุ่มเป้าหมายที่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากสถานบริการอื่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากสถานบริการอื่น (ไม่มีงบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4.ติดตามผลการตรวจ และส่งต่อในกลุ่มที่ผลการตรวจผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
4.ติดตามผลการตรวจ และส่งต่อในกลุ่มที่ผลการตรวจผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(ไม่มีงบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 30
๒. สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80
๓. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาที่ถูกต้อง


>