กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยและส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง

หมู่บ้านที่ 1 ,2 ,4,10 ตำบลเขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

20.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

30.00
3 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

54.46
4 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

48.45
5 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

20.52
6 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

72.80

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารเคมี มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น
ตำบลเขาย่า เป็นพื้นที่กลางน้ำพื้นที่ทั้งหมด 48,104 ไร่ แบ่งการปกครองเป็น 10 หมู่บ้าน มีประชากร 4,599 คน เพศชาย 2,884 คน เพศหญิง 2915 คนจำนวน1,747 ครัวเรือน เฉลี่ย 0.61 คน/ครัวเรือนมีสถิติร้อยละการป่วยด้วยโรคกล่าวคือ มะเร็งทุกชนิดร้อยละ 0.47 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 13.90 โรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 0.28 สำหรับอัตราการตายร้อยละของประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 0.18 สถิติร้อยละของการบริโภคผักกลุ่มเด็กและเยาวชนร้อยละ30 กลุ่มวัยทำงานร้อยละ 60 กลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 80
จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกพืชผักปลอดภัย ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักผลไม้ในสัปดาห์ล่าสุด และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้านพบว่า
1. ครัวเรือนทั้งหมดของตำบลพบว่าร้อยละ 17.55 ปลูกผักผลไม้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพในปัจจุบัน โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ พริก คะน้า เหล่านี้เป็นต้น ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภคจะแบ่งขายในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการทำไร่ถั่วลิสง ปลูกกล้วยชนิดต่างๆ และมีการทำสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ เป็นอาชีพเสริม
2. ข้อมูลการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาย่า ทั้งหมด 261 คน ไม่พบสารเคมีร้อยละ 9.58 พบสารเคมีในระดับปลอดภัยร้อยละ 17.62 พบสารเคมีในระดับเสี่ยงร้อยละ 36.78 และพบสารเคมีในระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 36.02 ภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 36.78 และผิดปกติจำนวน 94 คนคิดเป็นร้อยละ 36.02
3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์ จำนวน 450 บาท ร้อยละ 70 ของพืชผักที่บริโภคเป็นพืชผักสวนครัวและพืชผักพื้นบ้านที่สามารถซื้อได้ในตลาด รถพ่วง และที่เก็บหาได้ไม่ต้องซื้อ
4.ตำบลเขาย่าศักยภาพในการผลิตพืชผักปลอดภัย ทั้งในด้านสภาพพื้นที่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถยกระดับให้เพิ่มพื้นที่ ชนิด และจำนวนการผลิตเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักของคนในตำบลให้เพิ่มขึ้น และยังสามารถเป็นแหล่งผลิตเพื่อนำสู่ตลาดส่งเสริมให้ผู้บริโภคของคนนอกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนอีกส่วนหนึ่งด้วย เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ Phathalung Green City และยุทศาสตร์อาหารปลอดภัยของจังหวัดพัทลุง นโยบายส่งเสริมการการบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ 400กรัม/คน/วัน และส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือนตามนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกและผลิตพืชผักผลไม้ปลอดภัยให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงพอ ลดการซื้อเพิ่มการขายกระจายสู่ผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนการบริโภคพืชผักผลไม่ปลอดภัยตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

20.00 40.00
2 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

54.46 50.00
3 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

30.00 50.00
4 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

72.80 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเพื่อให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงานและจัดการความรู็

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเพื่อให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงานและจัดการความรู็
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานประกอบด้วย จนท.อสม. และผู้นำชุมชนจำนวน20 คน ชี้แจงเรื่องการจัดทำโครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัยและการปลูกผักปลอดสารพิษและสำรวจข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คนๆละ 25 บาทจำนวน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2021 ถึง 9 มีนาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงาน ขับเคลื่อนจำนวน20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมตรวจสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรในพื้นที่เขตรับผิดชอบ ทั้ง 4 หมู่บ้านจำนวน 4หมู่บ้านกลุ่มเป้าหมาย200 คนและสร้างความเข้าใจเรื่องสารพิษตกค้างในเลือดและวิธีป้องกันตนเองในการป้องกัน 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 200 คนๆละ25 บาทจำนวน 5,000 บาท 2.ค่าวัสดุอุปกรณ์เจาะตรวจสารพิษตกค้างในเลือดจำนวน4 ชุดๆละ 2,100บาท จำนวน 8,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มีนาคม 2021 ถึง 25 มีนาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนเข้าร่วมและได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและบริโภคปลอดภัย/การเพาะพันธ์กล้าผัก/การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ในพื้นท่ี่

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและบริโภคปลอดภัย/การเพาะพันธ์กล้าผัก/การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ในพื้นท่ี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จำนวน 200 คน โดยจัดแบ่งวันละ1 หมู่บ้านๆละ 50 คน ให้ความรู้เรื่องการปลูดผักปลอดสารพิษและการสำรวจสถานการณ์การปลูกผักในพื้นที่แต่ละหมู่บ้านเพื่อมีผักปลอดสารพิษไว้กินเองและติดตามผลการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดครั้งที่ 1 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน200คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2021 ถึง 16 เมษายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 2.ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 3.ประชาชนมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 4.ประชาชนมีความรู้เรื่องสารพิษตกค้างในเลือดและวิธีป้องกันตนเองร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมัก /ปุ๋ยน้หมัก และการปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ส่งเสริมการปลูก

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมัก /ปุ๋ยน้หมัก และการปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ส่งเสริมการปลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ/ ปู๋ยหมัก /ปุ๋ยน้ำหมัก เพื่อนำมาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 200 คนๆละ 25 บาท จำนวน 5,000 บาท 2.ค่าวัสดุจำนวน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2021 ถึง 30 เมษายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีการทำปุ๋ยหมักปุ่ยน้ำหมัก และนำมาปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 5 ตลาดนัดแลกเปลี่ยนผักปลอดภัยชุมชน และประกวดครัวเรือนต้นแบบปลูกและบริโภคผักปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ตลาดนัดแลกเปลี่ยนผักปลอดภัยชุมชน และประกวดครัวเรือนต้นแบบปลูกและบริโภคผักปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการจัดตลาดนัดผักปลอดสารพิษชุมชนนำผักมาจำหน่ายที่ตลาดนัดซึ่งอยู่ในชุมชนและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษและบริโภคผักอย่างน้อยวันละ400 กรัมต่อคนต่อวันและมีการตรวจติดตามสารพิษตกค้างในเลือดครั้งที่ 2 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 200 คนๆละ 25 บาทจำนวน 5,000 บาท 2.ค่าประกาศนียบัตรจำนวน3 ครัวๆละ 120บาทจำนวน360 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 200 คนๆละ 70 บาทจำนวน 14000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2021 ถึง 30 กรกฎาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีแปลงปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30 2.ลดภาวะอ้วนลุงพุง ร้อยละ 45 3.เพื่อเพิ่มประชาชนบริโภคผักวันละ 400 กรัม ร้อยละ 60 4.ลดภาวะสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ร้อยละ 30 5.จำนวนผักที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>