กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

รพ.สต.บ้านศาลามะปราง

1.นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
2.นางธัตติมา จิตรเนียม
3 นายนพมาศ ทองดี
4. นางกชพร ธานีรัตน์
5. นายวิชัยยุทธ หนูแก้ว

หมู่ที่ 1หมู่ที่ 2หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 10 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เขต รพ.สต.บ้านศาลามะปราง (ปี 2559-2563) ดังนี้ 40.88, 204.17 ,0 40.44 และ 39.92 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ

 

3.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับประเทศเนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตายการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจ วินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 - 9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ และโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ
สำหรับสถานการณ์โรค 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563) ในเขตพื้นที่อำเภอศรีบรรพต พบว่า มีอัตราป่วย ดังนี้129.23, 105.80 ,233.87 ,227.42 และ 105.39 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ และเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางพบว่า มีอัตราป่วย ดังนี้40.88, 204.17 ,040.44 และ 39.92 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ และจากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563 (กันยายน 2563) พบว่า พฤติกรรมที่ประชาชนกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ การป้องกันยุงลายกัด ร้อยละ 84.25 การจัดบ้านให้ระเบียบเรียบร้อยไม่มีมุมมืด ร้อยละ 75.36 การปิดภาชนะเพื่อไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ ร้อยละการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 70.38 การเปลี่ยนน้ำทุก 7วัน ร้อยละ71.25 และการปล่อยปลากินลูกน้ำ ร้อยละ 70.45 อย่างไร ก็ตามก็ยังนับเป็นปัญหาสำคัญที่ชุมชน องค์กรทุกระดับต้องตระหนักและเร่งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ความสำคัญในการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด ระดมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องซึ่งปัญหาที่ผ่านมา ได้แก่
1. ประชาชนมักขาดความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมจนเกิดปัจจัยเอื้อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อันเป็นพาหะ (Vector) ในการแพร่กระจายโรค
2. ประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย ไม่ให้ความสำคัญในการกำจัดตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสม

3. ประชาชนขาดความตระหนักที่จะเฝ้าระวังโรค ไม่เห็นความสำคัญและไม่สร้างนิสัยในการที่จะกำจัดยุงลายและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง มักปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำหน้าที่ป้องกัน และควบคุมโรค
4. ทรัพยากร/ วัสดุอุปกรณ์ ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย และลูกน้ำยุงลายมีไม่เพียงพอ
จากที่กล่าวมานับเป็นปัญหาและอุปสรรคที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งระดมความคิดในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค และการดำเนินงานที่ผ่านมา ไม่สามารถดำเนินได้ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกปี แม้ว่าจะไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกก็ตาม ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขในตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อควบคุมและลดปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้บ้าน วัด โรงเรียน สถานที่ราชการทำการควบคุมป้องกันและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือน และบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

80.00 80.00
2 เพื่อรณรงค์กำจัด ควบคุมหรือมีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน วัด สถานบริการสาธารณสุข และโรงเรียน ตามเกณฑ์

1.ประชาชนในเขต รพ.สต.บ้านศาลามะปราง มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.ร้อยละของหมู่บ้านในเขต รพ.สต.บ้านศาลามะปราง มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน โดยมีค่า HI น้อยกว่า 10

10.00 10.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกให้น้อยลง และควบคุมอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  1. อัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร หรือลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20
  2. .อัตราป่วยตายโดยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 0.13 ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบมฟื้นฟูอสม.และผู้นำชุมชนจำนวน 60 คน
1.ค่าอาหารกลางวันอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 60 คน X 1 มื้อ X 70 บาท = 4,200 บาท.
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 60 คน X 2 มื้อ X 25 บาท = 3,000 บาท. 3.ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 5 ชั่วโมง X 300 บาท = 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2564 ถึง 28 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควมคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8700.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ออกติดตาม ประเมินสุ่มลูกน้ำยุงลาย 60 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละของการสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยมีค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 2.อัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร หรือลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 3. ความพึงพอใจต่อโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ออกติดตาม ประเมินสุ่มลูกน้ำยุงลาย 60 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละของการสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยมีค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 2.อัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร หรือลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 3. ความพึงพอใจต่อโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ออกติดตาม ประเมินสุ่มลูกน้ำยุงลาย 60 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละของการสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยมีค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 2.อัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร หรือลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 3. ความพึงพอใจต่อโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ออกติดตาม ประเมินสุ่มลูกน้ำยุงลาย 60 คน ๆ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละของการสำรวจลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยมีค่า HI น้อยกว่า ร้อยละ 10 2.อัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร หรือลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 3. ความพึงพอใจต่อโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง


>