กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมดูแลสุขอนามัยในช่องปากทุกกลุ่มวัย ตำบลหารเทา ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

รพ.สต.บ้านฝาละมี

ทุกหมู่บ้าน ทุก รพ.สต.ในพื้นที่ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพช่องปากและฟันของคนไทย พบว่า กลุ่มเด็กปฐมวัยเริ่มมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 3 ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และเพิ่มเป็นร้อยละ 51.7 เมื่ออายุ 3 ปี และจะเพิ่มสูงมากขึ้น ร้อยละ 97.5 เมื่ออายุ 5 ปี เด็กวัยเรียนที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นในปาก ช่วงอายุ 12 ปี ร้อยละ 52.2 เป็นโรคฟันผุ และร้อยละ 50 พบเหงือกอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคอาหาร เช่น เบเกอรี่ ขนม ลูกอม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเพียงพอ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน พบปัญหาฟันผุบริเวณซอกฟันและเริ่มเป็นโรคปริทันต์ โดยผู้ที่ฟันผุยังไม่ไปรับการรักษา ร้อยละ 35.2 และพบโรคปริทันต์รุนแรงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน ร้อยละ 15.6 ซึ่งส่วนหนึ่งจะพบภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาหลักคือไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร มีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟัน ทั้งปาก ร้อยละ 7.2 แต่ด้วยการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานจึงทำให้ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใส่ฟันทั้งปากลดลงเหลือร้อยละ 2.5 แต่หากคิดเป็นจำนวนยังคงสูงถึง 250,000คนและยังพบปัญหาฟันผุ รากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก ภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ทุกกลุ่มวัยอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมีจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมดูแลสุขอนามัยในช่องปากทุกกลุ่มวัย ในพื้นที่ตำบลหารเทาประจำปี 2564 เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับทุกกลุ่มวัย เพื่อให้มีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องแล้วยังมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย

ร้อยละ  80  ของทุกกลุ่มวัยที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

40.00 80.00
2 เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ  45  ของทุกกลุ่มวัย ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

30.00 45.00
3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการสร้างเสริมสุขภาพในช่องปาก

ร้อยละ 90 ของภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในช่องปาก

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 350
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,200
กลุ่มวัยทำงาน 635
กลุ่มผู้สูงอายุ 320
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 220
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำโครงการ แผนปฏิบัติงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำโครงการ แผนปฏิบัติงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมอสมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อชี้แจงโครงการจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมอสมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อชี้แจงโครงการจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน จำนวน 11 หมู่บ้าน ให้ความรู้ฝึกทักษะ ตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน จำนวน 11 หมู่บ้าน ให้ความรู้ฝึกทักษะ ตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน1ป้ายเป็นเงินจำนวน 1,000บาท
    • ค่าชุดตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมค่าผ้าห่ออุปกรณ์ชุดตรวจ จำนวน70 ชุดๆละ 550 บาท เป็นเงิน จำนวน38,500 บาท -ค่าชุดแปรงสีฟัน+ยาสีฟันจำนวน 350ชุดชุดละ50บาท เป็นเงิน จำนวน17,500บาท รวมเป็นเงิน 57,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม รักษา ส่งต่อประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม รักษา ส่งต่อประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
2. เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยได้รับการตรวจช่องปาก
3. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพในช่องปากของทุกกลุ่มวัย


>